Page 301 - kpi16531
P. 301

2        นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


               พาณิชย์ ขณะที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 17 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 41.5 เทศบาล จำนวน
               243 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 36.9 และองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 14 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 26.4

               สนใจดำเนินกิจการพาณิชย์

               แผนภูมิที่ 8: จำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สนใจดำเนินกิจการพาณิชย์ ทั้งจำนวนรวมและ
               แยกตามประเภทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


                                                                                    หน่วย: ร้อยละ (จำนวน)































               ที่มา: คณะผู้วิจัย

                      การขาดความสนใจต่อการดำเนินกิจการพาณิชย์ผู้วิจัยเห็นว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการ

               ขาดเจตนารมณ์ทางการเมืองควบคู่ไปกับข้อจำกัดทางกฎหมาย ข้อจำกัดด้านการบริหาร
               และโครงสร้างรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน 4 ด้านคือ

                      1) การหารายได้จากกิจการพาณิชย์อาจส่งผลต่อความนิยมของผู้บริหารท้องถิ่น


                        เนื่องจากการเก็บค่าบริการของกิจการพาณิชย์ที่กระทบกับความเป็นอยู่ของประชาชน
               และอาจลดความนิยมของผู้สมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่ เช่น ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น ทำให้ท้องถิ่น

               อาจไม่ได้รับรายได้ที่ควรได้อย่างแท้จริงและท้องถิ่นอาจต้องแบกรับต้นทุนการดำเนินงานทดแทน

                      2) ท้องถิ่นมีโครงสร้างรายได้ที่พึ่งพาเงินอุดหนุนจากภาครัฐมากเกินไป


                        เนื่องจากสัดส่วนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยมากกว่าร้อยละ 40 มาจาก
               เงินอุดหนุนของรัฐบาล ทำให้วิธีการทำงานด้านการหารายได้ของผู้บริหารท้องถิ่นอาจให้ความสำคัญ
               กับการ “วิ่งเต้นของบประมาณ” จากหน่วยงานรัฐส่วนกลางจนกลายเป็น “วิธีคิดหรือเจตนารมณ์หลัก

               ของการบริหารงานท้องถิ่น” มากกว่าการสร้างรายได้ของตนเอง นอกจากนี้งานของบประมาณจาก
               ภาครัฐยังจะช่วยชดเชยรายได้ที่ขาดหายไปของรายได้ที่ท้องถิ่นจัดเก็บด้วยตนเอง เพราะการเก็บหรือ
   296   297   298   299   300   301   302   303   304   305   306