Page 296 - kpi16531
P. 296

นวัตกรรมการพัฒนารายได้     2
                                                                                 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น




                       มาตรา 50 และมาตรา 76  ซึ่งตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินกิจการ
                       พาณิชย์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2541 ที่ออกตามความในบทบัญญัติ
                       ดังกล่าวได้กำหนดให้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ประสงค์จะดำเนินกิจการพาณิชย์

                       จะต้องนำเสนอเป็นข้อบัญญัติต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และข้อบัญญัติเกี่ยวกับ
                       กิจการพาณิชย์ต้องมีสาระสำคัญตามความในข้อ 7 ของระเบียบดังกล่าว ซึ่งอย่างน้อย
                       ต้องมีสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องลักษณะการลงทุน ให้ระบุลักษณะของการลงทุนกิจการ

                       พาณิชย์ เช่น ลงทุนเอง หรือจัดตั้งนิติบุคคลขึ้นใหม่ หรือในรูปของสหการ หรือเอกชน
                       ร่วมลงทุน รวมทั้ง สัดส่วนของการถือหุ้นในกิจการพาณิชย์ดังกล่าวด้วย เห็นได้ว่า
                       กฎหมายและระเบียบดังกล่าวมีเจตนารมณ์ให้องค์การบริหาร ส่วนจังหวัด

                       มีอำนาจดำเนินกิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์ซึ่งเป็นการดำเนินการที่มีผลประโยชน์
                       ในธุรกิจ เพื่อความเป็นอิสระ ความคล่องตัว และความมีประสิทธิภาพในการ
                       บริหารงานอย่างเอกชน แต่มิได้กำหนดให้อำนาจองค์การบริหารส่วนจังหวัดจัด

                       ตั้งนิติบุคคลขึ้นใหม่ แล้วดำเนินการบริหารจัดการเองทั้งหมดแต่อย่างใด ดังนั้น
                       การจัดตั้งบริษัท บริหารจัดการยางพาราภาคตะวันออก จำกัด ขององค์การบริหาร
                       ส่วนจังหวัดระยอง จึงเป็นการดำเนินการที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย  อีกทั้ง การ

                       จัดตั้งนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะกระทำได้ ก็แต่บุคคล
                       ธรรมดาเท่านั้น



                 3. .2. ศักยภาพการดำเนินกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคมโดยองค์กร

                 ปกครองส่วนท้องถิ่น

                         ผู้วิจัยเห็นว่าการดำเนินกิจการพาณิชย์ท้องถิ่นของไทยนอกจากจะมีข้อจำกัดทางกฎหมายที่

                 เป็นปัจจัยหลักต่อการบั่นทอนศักยภาพของการดำเนินกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม แต่ก็มี
                 สาเหตุจากศักยภาพในตัวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองด้วยเช่น

                         1) การเลือกรูปแบบกิจการพาณิชย์และกิจการเพื่อสังคม


                           จากการสำรวจผู้วิจัยพบว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยส่วนใหญ่ยังดำเนินกิจการ
                 พาณิชย์ในรูปแบบการดำเนินงานด้วยตนเองภายใต้โครงสร้างการบริหารงานขององค์กรปกครอง

                 ส่วนท้องถิ่นเพราะเป็นรูปแบบเดียวที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการมายาวนานและสามารถ
                 ทำได้โดยทันที เนื่องจากการจัดตั้งกิจการพาณิชย์ในรูปแบบอื่นทั้งแบบบริษัทจำกัดที่เป็นนิติบุคคล
                 เอกชนและองค์กรที่เป็นนิติบุคลมหาชนไม่สามารถทำได้เพราะข้อจำกัดทางกฎหมาย จึงทำให้วิธีการ

                 บริหารงานกิจการพาณิชย์ยังมีลักษณะความเป็นราชการที่ยึดถือกฎระเบียบ ขาดความคล่องตัว
                 และขาดการร่วมมือหรือร่วมทุนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือภาคเอกชน ส่วนกิจการพาณิชย์
                 ในรูปแบบบริษัทจำกัดกลับมีเพียงแห่งเดียวคือบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัดที่ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2498


                           ส่วนรูปแบบกิจการเพื่อสังคม แม้ว่าปัจจุบันกฎหมายไม่ได้ระบุข้อห้ามให้องค์กรปกครอง
                 ส่วนท้องถิ่นรูปแบบกิจการเพื่อสังคมเช่น 1). รูปแบบสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.
   291   292   293   294   295   296   297   298   299   300   301