Page 130 - kpi16531
P. 130
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 113
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
บริการสาธารณะบางประเภทจำเป็นต้องจัดให้บริการฟรี หรือจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
สาธารณะในอัตราต่ำ โดยมีการอุดหนุนต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดให้บริการ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่ม
สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะอย่างเสมอภาค อย่างไรก็ตาม การอุดหนุนต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัด
ให้บริการสาธารณะใดก็ตาม ทำให้ประชาชนที่ไม่ได้ใช้บริการสาธารณะนั้นต้องร่วมแบกรับต้นทุน
ค่าใช้จ่ายในการจัดให้บริการด้วย (The Civic Federation, n.d., p. 9)
5) ประชาชนรู้สึกเหมือนเป็นการจ่ายภาษีซ้ำซ้อน การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้
บริการสาธารณะทำให้ประชาชนรู้สึกเหมือนเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน เพราะประชาชนเข้าใจว่า รัฐ
ย่อมนำรายได้จากภาษีไปใช้ในการจัดให้บริการสาธารณะอยู่แล้ว (The Civic Federation, n.d., p. 8)
6) ผู้ใช้บริการไม่ยินดีจ่าย การบริการสาธารณะบางประเภทก่อให้เกิดประโยชน์แก่
สาธารณชนโดยรวม อาทิ การกำจัดขยะมูลฝอย การควบคุมโรคระบาด การควบคุมสัตว์เลี้ยง ฯลฯ
ผู้จ่ายค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะดังกล่าวมักไม่ค่อยเต็มใจจ่ายค่าธรรมเนียมมากนัก
เพราะรู้สึกว่า ตนเป็นผู้รับภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดให้บริการสาธารณะ แต่สังคมได้รับประโยชน์
โดยทั่วกัน (The Civic Federation, n.d., p. 8)
7) จัดเก็บได้ยาก ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะบางประเภทยากต่อการจัดเก็บ
และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดเก็บค่อนข้างสูง (The Civic Federation, n.d., p. 8)
นอกจากข้อดีและข้อเสียของการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะดังกล่าว
ข้างต้น ยังมีการสรุปเหตุผลสนับสนุนและข้อโต้แย้งต่อการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
สาธารณะได้ดังตารางที่ 4
ตารางที่ 4: เหตุผลสนับสนุนและข้อโต้แย้งในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ
เหตุผลสนับสนุน ข้อโต้แย้ง
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมเฉพาะผู้ใช้บริการมีความ ผู้จัดให้บริการสาธารณะที่มีสิทธิขาดเพียงผู้เดียวอาจ
ยุติธรรมต่อผู้ไม่ได้ใช้บริการ จัดเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราสูง
เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการจัดให้บริการ การจัดเก็บค่าธรรมเนียมทำให้การดำเนินการจัดให้
สาธารณะอย่างคุ้มค่า บริการสาธารณะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
มีรายได้นำมาใช้เป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดให้ เป็นการกีดกันผู้ที่ไม่มีกำลังซื้อไม่ให้เข้าถึงบริการ
บริการสาธารณะ และการบำรุงรักษา สาธารณะ
การไม่จัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือการจัดเก็บค่า ประชาชนรู้สึกเหมือนเป็นการเก็บภาษีซ้ำซ้อน
ธรรมเนียมในอัตราต่ำ ส่งผลให้เกิดการใช้บริการ
สาธารณะในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น และต้อง
นำรายได้จากแหล่งอื่นมาใช้เป็นเงินอุดหนุนในการจัด
ให้บริการสาธารณะ
โดยปกติระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมไม่มี
ประสิทธิภาพเท่ากับระบบภาษี
ที่มา: Boyle, R., 2012. Using fees and charges- cost recovery in local government , n.p.: Institute of
Public Administration . p. 9.