Page 126 - kpi16531
P. 126
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 10
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.2 ความหมายและกรอบแนวคิดเกี่ยวกับ
“ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ”
เนื้อหาส่วนนี้เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
สาธารณะ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 หัวข้อ ได้แก่
1. ความหมายของ “ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ”
2. ข้อดีและข้อเสียของการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ
3. การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะของท้องถิ่นในต่างประเทศ
2.2.1 ความหมายของ “ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ”
นักวิชาการจำนวนหนึ่งได้ให้นิยามคำว่า “User Charges” ในบริบทของการบริหารกิจการ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้ ดังนี้
“User Charges หรือ ค่าธรรมเนียมการใช้” หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการที่สัมพันธ์
กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งโดยทั่วไปการบริการเหล่านี้เป็นภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ค่าเก็บ
และกำจัดขยะ ค่าบำบัดน้ำเสีย ค่ากำจัดกากสารเป็นพิษ เป็นต้น (ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, 2553,
p. 136)
“User Charges หรือ ค่าธรรมเนียม” คือ เงินที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเก็บจาก
ประชาชนผู้ที่ได้รับบริการหรือได้รับประโยชน์จากท้องถิ่น เช่น ค่าธรรมเนียมการเก็บและขนอุจจาระ
หรือสิ่งปฏิกูล ค่าธรรมเนียมการเก็บและขนขยะมูลฝอย ค่าธรรมเนียมโรงฆ่าสัตว์ ค่าธรรมเนียม
โรงพักสัตว์ และค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ เป็นต้น (ดุษฎี สุวัฒนวิตยากร, 2551, p. 78)
“User Charges หรือ ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการสาธารณะ” เป็นเงินที่เก็บจากการได้รับ
บริการสาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดให้บริการ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเรียกเก็บ
จากประชาชนผู้รับบริการเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือรายปี เช่น ค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะ
ค่าธรรมเนียมการบำบัดน้ำเสีย ค่าธรรมเนียมที่จอดยานยนต์ ฯลฯ (สกนธ์ วรัญญูวัฒนา, 2553,
p. 61)
จากคำนิยามดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยสามารถสรุปคุณลักษณะที่สำคัญของ “User Charges”
ในบริบทของการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ 4 ประการ ดังนี้