Page 124 - kpi16531
P. 124
2.1 บทนำ
ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
สาธารณะ (User Charges) จากการจัดให้บริการสาธารณะบางประเภท ซึ่งรายได้จาก
การจัดเก็บค่าธรรมเนียมจัดอยู่ในกลุ่มรายได้ที่ไม่ใช่ภาษีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สามารถจัดเก็บเองได้ จากสถานการณ์รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยภาพรวม
ที่ผ่านมา รายได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บเองมีสัดส่วนค่อนข้างต่ำเมื่อ
เทียบกับรายได้รวม กล่าวคือ ในปีงบประมาณ 2551-2556 มีสัดส่วนต่ำกว่าร้อยละ 20
ของรายได้รวม และหากพิจารณาเฉพาะรายได้จากค่าธรรมเนียม พบว่า มีสัดส่วนต่ำกว่า
ร้อยละ 3 ของรายได้รวม ขณะที่ รายได้ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ของรายได้รวม
มาจากรัฐ (ภาษีที่รัฐจัดเก็บให้ รายได้ที่รัฐบาลแบ่งให้ และเงินอุดหนุน) ซึ่งหมายความว่า
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งพิงรายได้จากรัฐเป็นหลัก อันนำไปสู่ความอ่อนแอในการ
พึ่งตนเองทางการคลัง และการขาดความเป็นอิสระทางการคลัง
ทั้งนี้ การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะมีฐานคิดมาจากหลักการ
“ผู้ใช้เป็นผู้จ่าย” (User pays Principles) ซึ่งสนับสนุนให้ประชาชนผู้ใช้ทรัพยากร
มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการใช้ทรัพยากรนั้น โดยให้ประชาชนผู้ใช้หรือผู้รับบริการ
สาธารณะร่วมรับผิดชอบต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดให้บริการสาธารณะด้วยการจ่ายค่า
ธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ จึงกล่าวได้ว่า หลักการนี้เป็นฐานคิดสนับสนุนให้มีการ
จัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ
แม้ว่ารายได้จากค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นไทยอยู่ในระดับต่ำ หากแต่สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศ
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะกลับเป็นแหล่งรายได้สำคัญในอันดับต้นๆ รองลงมา