Page 125 - kpi16531
P. 125
10 นวัตกรรมการพัฒนารายได้
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จากเงินอุดหนุน และภาษีทรัพย์สิน โดยมีสัดส่วนรายได้ค่อนข้างสูงและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ยกตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 2000 รายได้จากค่าธรรมเนียมของเทศบาลในประเทศแคนาดา
มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 21.3 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 1990 ที่มีสัดส่วนร้อยละ 12 ของรายได้รวม
และในปี ค.ศ. 2001 รายได้จากค่าธรรมเนียมของเทศบาลในสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ
41.9 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี ค.ศ. 1991 ที่มีสัดส่วนร้อยละ 40.8 ของรายได้รวม เป็นต้น
จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นจึงนำมาสู่ความสนใจในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ที่ว่า เหตุใดรายได้
จากค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยจึงอยู่ในระดับต่ำ และ
หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยต้องการพัฒนารายได้จากค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ
ควรมีแนวทางในการแก้ไขข้อจำกัดและพัฒนารายได้เช่นไร ดังนั้น การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงมุ่งศึกษา
และพัฒนาให้ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะเป็นช่องทางในการพัฒนารายได้ขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทางเลือกในการพัฒนารายได้ด้วยตนเอง
ซึ่งจะนำไปสู่การมีรายได้เพิ่มมากขึ้น การมีความสามารถในการพึ่งตนเองทางการคลังมากขึ้น และ
การมีความเป็นอิสระทางการคลังมากขึ้น
สำหรับเนื้อหาในบทนี้ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
1. ความหมายและกรอบแนวคิดเกี่ยวกับ “ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ
ในหัวข้อนี้ผู้วิจัยศึกษาถึง 1) ความหมายของ “ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ”
2) ข้อดีและข้อเสียของการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ และ 3) การจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะของท้องถิ่นในต่างประเทศ
2. สถานการณ์การจัดเก็บ “ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ” ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นไทย ในหัวข้อนี้ผู้วิจัยศึกษาถึง 1) กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2) ประเภท
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ 3) รายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
สาธารณะ 4) การสำรวจประเภทบริการสาธารณะที่มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ
สาธารณะ และ 5) กรณีตัวอย่างการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ
3. ข้อค้นพบที่เป็นข้อจำกัดในการจัดเก็บ “ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ” ของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในหัวข้อนี้ผู้วิจัยศึกษาถึงข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากการจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1) ข้อจำกัดทาง
กฎหมาย และ 2) ข้อจำกัดจากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้ไม่สมดุลกับต้นทุนค่าใช้จ่าย
4. ข้อเสนอแนะในการจัดเก็บ“ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ” ขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น ในหัวข้อนี้ผู้วิจัยนำเสนอข้อเสนอแนะในการจัดเก็บ“ค่าธรรมเนียมการใช้
บริการสาธารณะ” ใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ข้อเสนอเชิงหลักการ 2) ข้อเสนอประเภทบริการ
สาธารณะที่มีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ และ
3) ข้อเสนอเชิงองค์กร