Page 131 - kpi16531
P. 131

11       นวัตกรรมการพัฒนารายได้
                ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


               2.2.3 การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะของท้องถิ่น
               ในต่างประเทศ


                      เนื้อหาส่วนนี้เป็นการศึกษาถึงการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะของท้องถิ่น
               ในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศแคนาดา สาธารณรัฐเช็ค และประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ เพื่อสำรวจดู
               วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ ประเภทบริการสาธารณะที่ท้องถิ่น

               จัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ อัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะแต่ละ
               ประเภท และสัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะเมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมด
               เนื้อหาส่วนนี้นำไปสู่การเรียนรู้หลักการและประสบการณ์ในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการ

               สาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

                      = การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะของท้องถิ่นประเทศ

               แคนาดา

                                                        David Amborski, n.d., pp. 29-45: อธิบายเกี่ยวกับ
                                                  การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะของเทศบาล

                                                  ในประเทศแคนาดา (Canada) ซึ่งได้ยกตัวอย่างเทศบาลใน
                                                  จังหวัดออนตาริโอ (Ontario) เป็นกรณีศึกษา โดยมี

                                                  รายละเอียด ดังนี้

                    เทศบาลในประเทศแคนาดาเริ่มดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะมาเป็น
               เวลานานแล้ว ค่าธรรมเนียมถือเป็นแหล่งรายได้สำคัญอันดับสาม รองลงมาจากเงินอุดหนุน และภาษี

               ทรัพย์สิน และหากพิจารณาเฉพาะรายได้ที่เทศบาลสามารถจัดเก็บเอง ค่าธรรมเนียมเป็นแหล่งรายได้
               สำคัญอันดับสอง รองลงมาจากภาษีทรัพย์สิน

                         เนื่องด้วยภาวะหนี้สินของประเทศแคนาดาในช่วงทศวรรษที่ 1980 รัฐบาลพยายามสร้าง

               งบประมาณที่สมดุลระหว่างรายรับและรายจ่าย โดยทำการลดเงินอุดหนุนที่ส่งให้ท้องถิ่น ซึ่งส่งผลให้
               เทศบาลได้รับเงินอุดหนุนลดลง เทศบาลแต่ละแห่งจึงพยายามพัฒนารายได้ด้วยตนเองจากแหล่ง
               รายได้ที่สามารถจัดเก็บเอง เพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อการจัดบริการสาธารณะ ซึ่งเทศบาลส่วนใหญ่
               นิยมทำการเพิ่มอัตราภาษีทรัพย์สินและ/หรือเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ อย่างไรก็ตาม

               เทศบาลหลายแห่งพยายามหลีกเลี่ยงการเพิ่มอัตราภาษีทรัพย์สิน และเลือกใช้วิธีการเพิ่มอัตรา
               ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะแทน เพราะกังวลต่อผลกระทบทางการเมืองโดยเฉพาะในช่วงที่

               มีการเลือกตั้งท้องถิ่น
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136