Page 134 - kpi16531
P. 134
นวัตกรรมการพัฒนารายได้ 11
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.2) ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะทางด้านสันทนาการ (Recreation Fees)
เทศบาลในประเทศแคนาดาดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะทางด้านสันทนาการ
มาเป็นเวลานานแล้ว เช่น ค่าเรียนว่ายน้ำ ค่าเรียนเทนนิส ค่าเรียนสเก็ต ค่าธรรมเนียมการ
เข้าค่ายฤดูร้อน และค่าธรรมเนียมการใช้สนามกีฬา สระว่ายน้ำ และอุปกรณ์กีฬาต่างๆ เป็นต้น
การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะทางด้านสันทนาการจำเป็นต้องคำนึงถึงความ
คุ้มทุนและความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการของประชาชนทุกกลุ่ม เช่น อัตราค่าธรรมเนียมการใช้
สนามกีฬาถูกกำหนดไว้ค่อนข้างสูงในช่วงเวลาที่มีผู้ใช้มาก และมีอัตราต่ำลงในช่วงเวลาที่มีผู้ใช้น้อย,
อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับกลุ่มเด็กและเยาวชนมีอัตราต่ำกว่าผู้ใหญ่ และมีส่วนลดให้แก่ผู้ที่มีรายได้
น้อย หรือกลุ่มผู้สูงอายุ/ กลุ่มเด็กเยาวชน เป็นต้น
2.3) ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะทางด้านการคมนาคมขนส่ง (transit and
road pricing) การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการขนส่งสาธารณะมีอัตราแตกต่างกันออกไปตาม
กลุ่มผู้ใช้บริการ รวมทั้งยังมีส่วนลดให้แก่ผู้ที่ใช้บริการบ่อยครั้ง ทั้งนี้ ประเทศแคนาดาไม่มีนโยบายใน
การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการบริการขนส่งสาธารณะตามระยะทางในการเดินทาง แม้ว่า
วิธีการนี้แสดงให้เห็นถึงต้นทุนในการจัดให้บริการก็ตาม นอกจากนี้ ยังมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
การใช้บริการสาธารณะทางด้านการคมนาคมรูปแบบอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมที่จอดรถ ค่าธรรมเนียม
การนำพาหนะส่วนตัวเข้าสู่ตัวเมือง และค่าธรรมเนียมทางด่วน โดยมีการบันทึกภาพป้ายทะเบียนรถ
ของผู้ใช้บริการและส่งใบแจ้งค่าธรรมเนียมทางไปรษณีย์ อัตราค่าธรรมเนียมขึ้นอยู่กับช่วงเวลาในการ
ใช้บริการและระยะทางที่ใช้บริการ อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียมการใช้บริการดังกล่าวมีอัตราค่อนข้างสูง
เพราะเทศบาลต้องการรณรงค์ให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งสาธารณะแทนการใช้พาหนะส่วนตัว
3) ค่าธรรมเนียมพิเศษอื่นๆ (Special Benefit Charge)
ค่าธรรมเนียมพิเศษอื่นๆ หรือค่าธรรมเนียมผลกระทบจากการพัฒนาในพื้นที่
(Development charges/ Impact fees) เช่น ค่าธรรมเนียมผลกระทบจากการสร้างโรงเรียนในเขต
พื้นที่ที่มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยจัดเก็บจากผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเข้าเรียน
ในโรงเรียนนี้
= การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะของท้องถิ่นสาธารณรัฐเช็ค
การจัดเก็บคาธรรมเนียมการใชบริการสาธารณะของ Phillip Bryson, n.d., pp. 59-72: กล่าวถึงการจัดเก็บ
ค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะ (User fees) ของท้องถิ่น
ทองถิ่นประเทศเช็ก
ในสาธารณรัฐเช็ค (Czech Republic) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
Phillip Bryson, n.d., pp. 59-72: กลาวถึงการจัดเก็บคาธรรมเนียม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสาธารณรัฐเช็ค (Czech Republic)
การใชบริการสาธารณะ (User fees) ของทองถิ่นในประเทศเช็ก (Czech) โดย สามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะได้ตามกฎหมาย
มีรายละเอียด ดังนี้ โดยสามารถกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมได้เอง ทั้งนี้ วัตถุประสงค์สำคัญในการจัดเก็บค่าธรรมเนียม
การใช้บริการสาธารณะ คือ เพื่อเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องคกรปกครองสวนทองถิ่นในประเทศเช็กสามารถจัดเก็บคาธรรมเนียมการใชบริการสาธารณะได
ตามกฎหมาย โดยสามารถกําหนดอัตราคาธรรมเนียมไดเอง ทั้งนี้ วัตถุประสงคสําคัญในการจัดเก็บ
คาธรรมเนียมการใชบริการสาธารณะ คือ เพื่อเปนชองทางในการสรางรายไดใหแกองคกรปกครองสวน
ทองถิ่น
ตารางที่ 2-4: รายไดของเทศบาลในประเทศเช็กจากแหลงรายไดตางๆ ในชวงป ค.ศ. 2001-2002
หนวย: ลานโครูนา
แหลงรายได 2001 2002
ภาษี 88,838 99,549
คาธรรมเนียมการใชบริการสาธารณะและ 5,388 7,998
คาธรรมเนียมใบอนุญาต (2.9%) (3.8%)
4,568 4,571
ภาษีทรัพยสิน
(2.5%) (2.2%)
รายไดที่ไมใชภาษี 23,016 23,809
รายไดจากการลงทุน 10,583 11,588
รายไดที่จัดหาเอง 122,438 134,947
เงินอุดหนุน 61,800 73,256
เงินสด 47,198 55,844
เงินทุน 14,602 17,412
รวม 184,239 208,204
ที่มา: Phillip J. Bryson, (n.d.),“User Fees in Local Finance: The Czech and Slovak cases”, in Local Government non-tax revenue
sources in transition countries: user fees and charges, Slovakia: NISPAcee, P 66.
เทศบาลในประเทศเช็กจัดเก็บคาธรรมเนียมการใชบริการสาธารณะและคาธรรมเนียมใบอนุญาต
จากการบริการสาธารณะ 9 ประเภท ดังนี้
1) คาใบอนุญาตเลี้ยงสุนัข
13