Page 347 - kpi12821
P. 347

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                               กรณีตัวอย่างเหล่านี้ จึงเป็นเครื่องยืนยันสิ่งที่ศาสตราจารย์ ดร. สุจิต

                    บุญบงการ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วิเคราะห์ไว้อย่างน่าสนใจว่า “...ประเทศไทยมี
                    ความไม่ไว้วางใจในพรรคการเมืองค่อนข้างสูง ซึ่งได้มีการออกกฎหมายบังคับใช้แก่
                    พรรคการเมืองค่อนข้างเข้มงวด... การมีกฎหมายมาบังคับใช้เช่นนี้ อาจมีผลให้
                    พรรคการเมืองที่ไม่รับผิดชอบหรือจัดตั้งขึ้นมาเพื่อผลประโยชน์ระยะสั้นบางประการ
                    ต้องสิ้นสุดหรือถูกยุบไป แต่ความเข้มงวดของกฎหมายก็ได้มีผลให้พรรคการเมือง

                    บางพรรคที่มีความตั้งใจดี ที่จะเป็นพรรคการเมืองที่ดีแต่ต้องใช้เวลาในการพัฒนา
                    อาจถูกยุบเลิกไปอันเกิดจากความผิดพลาดบางประการที่ไม่ได้ตั้งใจ....”
                                                                                 84
                          8.2 ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ


                               การที่รัฐธรรมนูญรับรองเสรีภาพของบุคคลในการรวมตัวกันจัดตั้ง
                    พรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองไว้นั้น ก็ด้วยตระหนักถึงความสำคัญ

                    ของพรรคการเมืองในการทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างรัฐกับประชาชน
                    (Participatory Political Linkage)   ระดมความคิดความเห็น สร้างเป็นเจตนารมณ์
                                                   85
                    ทางการเมือง มุ่งเข้าสู่อำนาจรัฐ ผลักดันเจตนารมณ์ดังกล่าวให้สัมฤทธิ์ผล ฉะนั้น การ

                    ยุบพรรคการเมือง แม้เป็นพรรคการเมืองเล็กๆ ก็ย่อมกระทบต่อหน้าที่สำคัญของ         1
                    พรรคการเมืองในข้อนี้ และยิ่งเมื่อใดก็ตามที่เป็นการยุบพรรคการเมืองขนาดกลางหรือ
                    ขนาดใหญ่ซึ่งมีสมาชิกพรรคเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง
                    พรรคการเมืองซึ่งกำลังทำหน้าที่ตัวกลางเชื่อมระหว่างรัฐกับประชาชนในระบบการเมือง
                    อย่างเป็นทางการ การยุบพรรคการเมืองเพียงเพราะเหตุใช้จ่ายไม่ถูกต้อง ไม่รายงาน

                    การใช้จ่าย หรือรายงานไม่ถูกต้อง จึงไม่เพียงแต่ย้อนแย้งกับนโยบายการให้เงิน
                    สนับสนุนแก่พรรคการเมืองเท่านั้น หากแต่ยังขัดแย้งโดยตรงต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
                    ที่รับรองความสำคัญของพรรคการเมืองในฐานะที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐกับประชาชน

                    อีกด้วย  และยิ่งเมื่อพิจารณาว่า ระบบการเมืองของไทยเป็นระบบปิด เฉพาะผู้ที่เป็น
                          86
                       84   สุจิต บุญบงการ, “กฎหมายพรรคการเมือง: โอกาสและข้อจำกัดในการส่งเสริมและพัฒนา
                    พรรคการเมือง,” วารสารศาลรัฐธรรมนูญ, ปีที่ 5 ฉบับที่ 15 (กันยายน – ธันวาคม 2546) น .17.
                       85   ไม่ว่าจะเป็นตัวเชื่อมในด้านการมีส่วนร่วม (Participatory Linkage) หรือตัวเชื่อมในด้านนโยบาย
                    สาธารณะที่มุ่งตอบสนองความต้องการ (Policy-Responsive Linkage); โปรดดู Kay Lawson, “Political
                    Parties and Linkage,” ใน Kay Lawson (ed.), Political Parties and Linkage: A Comparative
                    Perspective, (New Haven: Yale University Press, 1980), น. 13 – 14.
                       86   โปรดดู คำวินิจฉัยหลายฉบับของนายมานิต วิทยาเต็ม ซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยในคดียุบพรรคหลายคดีที่
                    พยายามสื่อสารหลักการข้อนี้ อาทิ คดีพรรคเกษตรกร - ศร. ที่ 51/2546 ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2546 [รจ. ล. 121
                    ต.58ก (7 กันยายน 2547) น. 1 – 85] น. 43 – 44; คดีพรรคสันติภาพ - ศร. ที่ 23/2546 ลงวันที่ 17 มิถุนายน
                    2546 [รจ. ล. 121 ต.19ก (22 มีนาคม 2547) น. 1 – 74] น. 41 เป็นต้น.
   342   343   344   345   346   347   348   349   350   351   352