Page 352 - kpi12821
P. 352
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
รูปแบบอื่นๆ เช่น มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ สมาคมการค้า หอการค้า ฯลฯ ดังได้อธิบาย
รายละเอียดไว้ในหัวข้อที่ 4 ข้างต้น ตลอดจน พบว่า กฎหมายพรรคการเมืองของบรรดา
70 ประเทศที่ทำการศึกษาวิจัย มีเพียง 1 ประเทศ คือ สาธารณรัฐเชก ที่มีบทบัญญัติ
กำหนดให้ยุบพรรคการเมืองเพราะไม่จัดส่งรายงานเงินสนับสนุนเช่นเดียวกับกฎหมาย
พรรคการเมืองไทย และอีก 1 ประเทศคือเคนย่า ที่กำหนดให้ยุบพรรค หากมีการใช้จ่าย
เงินสนับสนุนพรรคการเมือง ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย ส่วนประเทศอื่นๆ แม้มีการ
กำหนดเหตุยุบพรรคในประเด็นนี้ไว้ แต่ก็มิใช่จะกระทำได้โดยง่ายเพียงเพราะการกระทำ
ผิดหรือไม่ทำหน้าที่จัดส่งรายงานเพียงครั้งเดียวเฉกเช่นกรณีของไทย
9. มาตรการทางเลือกอื่นแทน
การยุบพรรคการเมือง
นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น การยุบพรรคการเมืองอันเป็นข้อยกเว้นของ
ระบอบประชาธิปไตยนั้น สมควรจะมีได้แต่เฉพาะกรณีที่มีข้อเท็จจริงแสดงให้เห็นว่า
พรรคการเมืองดังกล่าวมิได้ประสงค์จะรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองอีก
0
ต่อไป จึงจะสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการรับรองเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง
และลักษณะความสำคัญของพรรคการเมืองในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
โดยเริ่มจากมาตรการที่กระทบต่อเสรีภาพของสมาชิกพรรคการเมืองน้อยที่สุดเรื่อยไป
โดยลำดับ จนถึงการทำให้ความเป็นพรรคการเมืองสิ้นสุดลง
9.1 การลด งด หรือเรียกคืนเงินสนับสนุน
เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายพรรคการเมืองของต่างประเทศ พบว่า
มีการใช้มาตรการลด หรืองดให้เงินสนับสนุนที่พรรคการเมืองหนึ่งๆ พึงได้รับในปีถัดไป
สำหรับพรรคการเมืองที่ละเลยต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดบางอย่าง โดยเฉพาะความ
96
ผิดในเรื่องการเงิน ส่วนกฎหมายพรรคการเมืองไทยนั้นกำหนดให้มีการเรียกคืนเงิน
สนับสนุนพร้อมดอกเบี้ย โทษปรับทางปกครอง โทษอาญา และก็ก้าวข้ามไปสู่ มาตรการ
(สภาพบังคับหรือโทษ) ยุบพรรคการเมืองในทันที และแม้จะมีการกำหนดเกี่ยวกับการ
ลดหรือเลิกการจัดสรรเงินสนับสนุนไว้แล้วก็ตาม แต่ก็จำกัดเฉพาะเหตุที่พรรคการเมือง
ไม่มีสมาชิกได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในช่วงระยะเวลาต่างๆ เท่านั้น 97
96 Karl-Heinz Nassmacher, เรื่องเดิม, น. 135 – 154.
97 พรป. พรรคการเมือง 2550, ม. 78.