Page 354 - kpi12821
P. 354
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
สมควรกำหนดไว้ในกฎหมายไทยดังได้กล่าวมาแล้ว (ข) ถูกเรียกคืนเงินสนับสนุนพร้อม
ดอกเบี้ย (ค) ถูกลงโทษปรับทางปกครองหรือโทษปรับทางอาญา
ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอต่อไปอีกว่า สมควรหรือไม่ที่จะกำหนดไว้ในกฎหมาย
พรรคการเมืองให้ชัดเจนถึงความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมของบรรดาหัวหน้าพรรคและ
กรรมการบริหารพรรคเหล่านั้นในอันที่จะต้องรับผิดชดใช้ต่อนิติบุคคล “พรรคการเมือง”
นั้นๆ ด้วย 99
แม้มาตรการนี้อาจถูกวิจารณ์ว่าเป็นการกำหนดให้บุคคลต้องร่วมรับผิดใน
การกระทำของบุคคลอื่น แต่ก็เป็นเพียงความรับผิดในทางแพ่ง อีกทั้งกรรมการบริหาร
พรรคที่มิได้เป็นผู้กระทำผิด แม้ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม และต้องชดใช้ให้แก่
พรรคการเมืองไปก่อน ก็ยังคงรับช่วงสิทธิ สามารถไล่เบี้ยเอาจากหัวหน้าหรือกรรมการ
100
บริหารพรรคที่เป็นต้นเหตุแห่งความรับผิดดังกล่าวได้ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิเคราะห์
เปรียบเทียบกับมาตรการยุบพรรคการเมือง และห้ามกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด
จดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมือง เป็นกรรมการพรรคการเมืองอื่น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแล้ว ในทางทฤษฎี ต้องถือว่า การกำหนดให้กรรมการบริหาร
พรรคมีความรับผิดร่วมกันในทางแพ่ง เป็นสภาพบังคับที่กระทบสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
น้อยกว่าการยุบพรรคการเมืองและการเพิกถอนสิทธิในประการต่างๆ ดังกล่าว 101
9.3 การสั่งให้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค
พ้นจากตำแหน่ง
แม้กฎหมายพรรคการเมืองให้อำนาจนายทะเบียนโดยความเห็นชอบของ
กกต. มีอำนาจยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหาร
พรรคทั้งคณะหรือบางคนพ้นจากตำแหน่งได้ แต่ก็จำกัดไว้เฉพาะกรณีที่มีการกระทำที่
ฝ่าฝืนนโยบายและข้อบังคับพรรคการเมืองเท่านั้น ทั้งๆ ที่มาตรการนี้เป็นมาตรการที่
102
99 โปรดเทียบ ความรับผิดของกรรมการต่อบริษัทตาม ป.พ.พ. ม. 1169 และความรับผิดร่วมกันของ
กรรมการบริษัทตาม ป.พ.พ. ม. 1168 วรรคสอง.
100 โปรดดู ป.พ.พ. ม. 296 และ ม. 229 (3).
101 แม้ในทางความเป็นจริง อาจมีผู้โต้แย้งว่า ความรับผิดในทางแพ่ง เช่น ค่าสินไหมทดแทนในหลักล้าน เป็น
สภาพบังคับที่รุนแรงกว่าการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก็ตาม แต่ทั้งนี้ ผู้วิจัยเห็นว่า มาตรการนี้จะเป็นการกระตุ้นเตือน
ให้บุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองตระหนักถึงหน้าที่สำคัญของตน มิใช่ตอบรับเป็นกรรมการบริหาร
พรรคเพราะความเกรงใจ หรือเพียงอยากมีตำแหน่งในพรรคการเมือง โดยไม่มีความตั้งใจจะดำเนินกิจกรรม
ทางการเมืองอย่างแท้จริง
102 พรป. พรรคการเมือง 2550, ม. 31 และพรป. พรรคการเมือง 2541, ม. 27 แต่ที่ผ่านมา กลับปรากฎว่า
ไม่เคยมีการใช้มาตรการนี้เลย