Page 339 - kpi12821
P. 339
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
จากเหตุผลต่างๆ ข้างต้น จึงเห็นว่า การบัญญัติกฎหมายให้ยุบพรรค
การเมืองได้เพียงเพราะไม่ส่งรายงานกิจการหรือรายงานไม่ถูกต้อง ขัดต่อหลักความได้
สัดส่วนอย่างชัดแจ้ง
6.3 เหตุผลอื่นๆ
แม้กฎหมายไทยหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับการรวมกลุ่มของบุคคลที่มี
สถานะนิติบุคคลในลักษณะอื่น เช่น มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ สมาคมการค้า หอการค้า
ฯลฯ จะกำหนดให้ต้องส่งรายงานการดำเนินกิจการเป็นประจำทุกปีต่อพนักงานเจ้า
หน้าที่ตามกฎหมายนั้นๆ ภายในเดือนมีนาคมหรือภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการ
ประชุม แต่กลับพบว่า มีเพียงกรณีเดียวที่ถือเอาการไม่จัดส่งรายงานดังกล่าวเป็นเหตุ
65
ให้เลิกนิติบุคคล คือ การสั่งเลิกสหกรณ์เพราะไม่นำส่งรายงานกิจการประจำปี 3 ปี
ติดต่อกัน ส่วนนิติบุคคลอื่นๆ การไม่นำส่งรายงานกิจการประจำปีมีผลเพียงโทษปรับ
66
เท่านั้น มิได้ถือเป็นเหตุให้ยกเลิก เพิกถอน ลบชื่อนิติบุคคลนั้นๆ แต่อย่างใด ทั้งนี้
แม้ไม่อาจสกัดเป็นหลักกฎหมายทั่วไปของไทยในเรื่องนี้ได้ แต่เมื่อพิเคราะห์ว่า
พรรคการเมืองก็เป็นการรวมกลุ่มของบุคคลในลักษณะหนึ่ง แล้วไฉนจึงบัญญัติและใช้
บังคับกฎหมายให้เข้มงวดรุนแรงกว่าการรวมกลุ่มอื่นๆ อย่างมาก 0
อย่างไรก็ดี อาจมีข้อโต้แย้งว่า ก็เพราะพรรคการเมืองเป็นกลไกสำคัญของ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตย และหน้าที่จัดส่งรายงานกิจการเพื่อประกาศให้
สาธารณชนทราบก็เป็นหน้าที่สำคัญ จึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรการบังคับให้เคร่งครัด
เข้มงวดกว่ากรณีนิติบุคคลอื่นๆ แต่ข้อโต้แย้งดังกล่าวกลับสวนทางกับหลักการสากลที่
เน้นถึงเหตุผลในการดำรงอยู่ของพรรคการเมืองคือ เพื่อธำรงไว้ซึ่งความหลากหลาย
ทางการเมือง อันเป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
นอกจากนี้ เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายพรรคการเมืองของ
ต่างประเทศ พบว่า กฎหมายไทยกำหนดเหตุยุบพรรคข้อนี้ไว้เข้มงวดกว่าประเทศอื่นๆ
65 โปรดดู ป.พ.พ., ม. 136 และกฎกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนมูลนิธิ การดำเนินกิจการ และการ
ทะเบียนมูลนิธิ พ.ศ. 2545, ข้อ 13; พรบ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542, ม. 66 – 67; พรบ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518,
ม. 75 และ ม. 108; พรบ. สมาคมการค้า พ.ศ. 2509, ม. 27 – 28; พรบ. หอการค้า พ.ศ. 2509, ม. 34 – 35.
66 โปรดดู ป.พ.พ., ม. 131 (3) กรณีมูลนิธิ, ม.102 (3) กรณีสมาคม; พรบ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542, ม. 71 (1);
พรบ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518, ม. 83 (3) และ ม. 111; พรบ. สมาคมการค้า พ.ศ. 2509, ม. 36 (3); พรบ.
หอการค้า พ.ศ. 2509, ม. 43 (3); นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการรวมกลุ่มซึ่งมีการจดทะเบียนเพื่อการ
ตามกฎหมายเฉพาะ มิใช่การจดทะเบียนเพื่อจัดตั้งนิติบุคคลเช่น พรบ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548, ม. 8
วรรคสองกำหนดให้กรมส่งเสริมการเกษตรถอนชื่อวิสาหกิจชุมชนที่ไม่แจ้งความประสงค์ในการดำเนินกิจการเป็น
เวลาสองปีติดต่อกันออกจากทะเบียน.