Page 338 - kpi12821
P. 338

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   พรรคการเมืองผู้ไม่ปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องได้ ทั้งนี้ ตามนิติวิธีหลักความได้

                   สัดส่วน รัฐต้องเริ่มใช้มาตรการบังคับทางกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน
                   จากน้อยไปหามาก เว้นแต่เป็นกรณีที่เห็นได้โดยชัดแจ้งมาตั้งแต่ต้นว่ามาตรการที่รุนแรง
                   น้อยกว่านั้นไม่อาจบรรลุผลได้ ซึ่งกรณีการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่จัดส่งรายงานกิจการหรือ
                   จัดส่งไม่ถูกต้องนี้ เพียงลำพังแค่มาตรการบังคับทางปกครองดังกล่าวก็น่าจะทำให้บรรลุ
                   เป้าหมายได้แล้ว และตราบจนกระทั่งกำหนดเวลาล่วงไประยะหนึ่งแล้ว หากยังคงไม่มี

                   การปฏิบัติตามหรือยังคงปฏิบัติไม่ถูกต้อง ก็สมควรจะเปลี่ยนไปใช้มาตรการที่รุนแรงยิ่ง
                   ขึ้นไปตามลำดับ เช่น การยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หัวหน้า
                   พรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองบางคนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง

                   หรือแม้แต่คณะกรรมการบริหารพรรคทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง 62
                             นอกจากนั้น การยุบพรรคการเมืองย่อมเป็นการกระทบกระเทือนเสรีภาพ

                   ของบรรดาสมาชิกพรรคการเมืองที่ถูกยุบไป เมื่อได้พิจารณาชั่งน้ำหนักระหว่าง
                   พฤติการณ์และความร้ายแรงของการไม่ปฏิบัติหน้าที่จัดส่งรายงานกิจการของหัวหน้า
                   พรรค และผลกระทบที่เกิดแก่มวลหมู่สมาชิกทั้งหมดของพรรคการเมืองนั้นคือ ถูกปิด

                   ช่องทางการมีส่วนร่วมสร้างและแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ทางการเมืองแล้ว เห็นได้ชัดว่า
          0        มิได้สมดุล-ได้สัดส่วนกันเลยแม้แต่น้อย โดยมิพักต้องพิจารณาถึงผลทางกฎหมายอื่นๆ

                                                                 63
                   ที่จะติดตามต่อเนื่องจากการยุบพรรคการเมืองนั้นเลย  ดังที่ ศาสตราจารย์ ดร. สุจิต
                   บุญบงการ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ระบุไว้ในคดีหนึ่งว่า

                            “...บทลงโทษของการไม่ดำเนินการ... โดยให้ยุบพรรคและหัวหน้าพรรคต้อง
                      ระวางโทษปรับเป็นเงินไม่เกินหนึ่งแสนบาท รวมทั้งกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบ
                      ไม่สามารถตั้งพรรคการเมืองได้อีกเป็นเวลา 5 ปีนั้น ค่อนข้างรุนแรงเกินไป และไม่มี
                      ข้อความเปิดช่องให้มีการผ่อนปรนการลงโทษหรือผ่อนโทษหนักเป็นเบา...” 64

                      62   เทียบมาตรา 31 วรรคสอง ซึ่งอาจมีข้อโต้แย้งว่ามาตรานี้เป็นกรณีหัวหน้า กรรมการไม่ทำตามนโยบาย
                   ข้อบังคับพรรค แต่โดยตรรกะแล้ว เพียงแค่การไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับพรรค ก็ยังสั่งให้ออกจากตำแหน่งได้ แล้ว
                   เหตุไฉนการไม่ทำตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด จึงจะสั่งให้บุคคลดังกล่าวออกจากตำแหน่งไม่ได้ แต่ทั้งนี้ เพื่อ
                   ความชัดเจน เห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายพรรคการเมืองต่อไป
                      63   ผลทางกฎหมายที่สืบเนื่องจากการยุบพรรคการเมืองเพียงเพราะไม่จัดส่งรายงานกิจการภายในกำหนด
                   ได้แก่ (1) การห้ามกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบไปนั้นจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมืองหรือเป็นกรรมการ
                   บริหารพรรคอื่นเป็นเวลา 5 ปี (2) สมาชิกพรรคที่เป็น ส.ส. ต้องหาสังกัดพรรคการเมืองใหม่ มิเช่นนั้น ขาดจาก
                   สมาชิกภาพ ส.ส. (3) หากมิได้ระบุไว้ให้โอนให้แก่องค์กรสาธารณกุศลใด ทรัพย์สินของพรรคที่ถูกยุบไปภายหลัง
                   จากชำระบัญชีเสร็จแล้ว ย่อมตกเป็นของกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง โปรดดู ร.ธ.น., ม. 106 (8) และ
                   พรป. พรรคการเมือง 2550, ม. 96 – 97.
                      64   คำวินิจฉัยของนายสุจิต บุญบงการ ในคดีพรรคถิ่นไทย – ศร. ที่ 1/2545 ลงวันที่ 10 มกราคม 2545
                   [รจ. ล. 119 ต. 90ก (16 กันยายน 2545) น. 1 – 158] น. 85 – 86; แต่ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อสังเกตต่อไปอีกว่า
                   ท่านเป็นหนึ่งในตุลาการเสียงข้างมากที่สั่งให้ยุบพรรคการเมืองดังกล่าว.
   333   334   335   336   337   338   339   340   341   342   343