Page 340 - kpi12821
P. 340
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
อย่างมาก กล่าวคือ ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมิได้กำหนดหน้าที่ให้พรรคการเมืองต้องยื่น
รายงานกิจการ แต่ปล่อยให้เป็นอิสระของพรรคการเมือง ซึ่งสาธารณชนทั่วไปก็สามารถ
ประเมินถึงความโปร่งใสของพรรคการเมืองที่จัดทำและเปิดเผยรายงานต่อสาธารณะกับ
พรรคที่ไม่จัดทำได้ ส่วนประเทศที่กำหนดหน้าที่นี้ไว้มี 10 ประเทศ ครึ่งหนึ่งกำหนดเป็น
ความผิดและโทษเฉพาะแต่ไม่ถึงขั้นยุบพรรค และอีกครึ่งหนึ่ง แม้การไม่นำส่งรายงาน
กิจการอาจนำไปสู่การยุบพรรค แต่ก็ไม่ใช่จะกระทำได้โดยง่ายอย่างกรณีของไทย ดังได้
กล่าวไว้โดยละเอียดแล้วในหัวข้อ 5.2 ข้างต้นแล้ว
และในประการสุดท้าย การยุบพรรคการเมืองด้วยเหตุข้อนี้ ไม่สอดคล้อง
กับหลักการยุบพรรคการเมืองซึ่งเป็นที่ยอมรับระดับสากล ทั้งจากการพิจารณาในกรอบ
อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรป (ECHR) ซึ่งไม่ผูกพันประเทศไทย หรือกรอบกติกา
ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งไทยเป็นภาคีตาม
กติกานี้ด้วย
7. ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับการยุบพรรค
0 เพราะเหตุรายงานเงินสนับสนุน
7.1 นิตินโยบาย (Legal Policy) การให้การสนับสนุน
ทางการเงินแก่พรรคการเมือง
แต่เดิม ประเทศไทยไม่เคยให้การสนับสนุนทางการเงินแก่พรรคการเมือง
แต่ปล่อยให้พรรคการเมืองหารายได้จากค่าธรรมเนียมสมาชิก และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
จากการบริจาคของภาคเอกชนที่ไม่มีการควบคุมตรวจสอบกันอย่างจริงจัง จนกระทั่ง
เกิดปัญหาผู้มีอิทธิพลและนายทุนครอบงำพรรคการเมือง และนักการเมืองซึ่งต้องลงทุน
67
ก็ย่อมมีการถอนทุนคืนในภายหลัง ดังนั้น เมื่อคราวจัดทำพระราชบัญญัติประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541 ซึ่งมุ่งปฏิรูปการเมืองตามแนวทางของ
67 การให้การสนับสนุนทางการเงินและอื่นๆ แก่พรรคการเมืองที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันมีรากฐานจากงานวิจัย
ของรองศาสตราจารย์ ดร. วิษณุ วรัญญู และคณะ เรื่อง แนวทางการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการให้การ
สนับสนุนทางการเงินและประโยชน์อย่างอื่นจากรัฐและเอกชน แก่พรรคการเมือง และสมาชิกพรรคการเมือง
(กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2540); โปรดดู ข้อวิจารณ์สภาพปัญหาการเงินของพรรคการเมืองไทยในอดีต ในหนังสือ
ดังกล่าว หน้า 21 – 46.