Page 251 - kpi12821
P. 251
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
ออกใบรับรองการหักลดหย่อนภาษีให้แก่ผู้บริจาคให้พรรค มีสิทธินำเงินค่าใช้จ่ายที่
เหลือจากการเลือกตั้งของผู้สมัครเข้าเป็นเงินได้ของพรรค และมีสิทธิที่จะระบุชื่อพรรค
ลงบนบัตรเลือกตั้ง ถือเป็นการละเมิดสิทธิของพลเมืองแต่ละคนในอันที่จะมีส่วนร่วมใน
กระบวนการเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญของบรรดาบุคคลผู้ที่เป็นสมาชิกหรือผู้สนับสนุน
พรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกพรรคลงสมัครเลือกตั้งน้อยกว่า 50 คน ขัดต่อหลักความได้
สัดส่วน จึงเป็นอันใช้บังคับไม่ได้ 124
3.4 บทวิเคราะห์ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของเหตุ
สิ้นสภาพเพราะไม่ส่งสมาชิกลงเลือกตั้ง
ในด้านหนึ่งอาจมองได้ว่า การกำหนดให้พรรคการเมืองต้องสิ้นสภาพไป
เพราะเหตุที่ไม่ส่งสมาชิกลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป 2 ครั้งหรือ 8 ปีติดต่อกัน
ดังกล่าวนั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก รัฐธรรมนูญ 2550 สืบทอดเจตนารมณ์ในการ
รับรองเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมาจาก
รัฐธรรมนูญ 2540 เมื่อรัฐธรรมนูญ 2540 มีเจตนารมณ์มิให้มีการกำหนดเหตุยุบเลิก
พรรคการเมืองเพราะไม่ส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้ง หรือเหตุที่ไม่มีสมาชิกของพรรคได้
รับเลือกตั้ง ดังความที่บัญญัติไว้ในมาตรา 328 (2) ของรัฐธรรมนูญ 2540 ก็ย่อมต้อง 1
ถือว่า หลักเกณฑ์การสิ้นสภาพในข้อนี้ขัดต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ 2550 โดยอนุโลม
ตามมาตรา 328 (2) ดังกล่าวตามไปด้วย 125
อย่างไรก็ดี ผู้วิจัยกลับเห็นไปในทางตรงกันข้ามว่า เหตุสิ้นสภาพ
พรรคการเมืองตามเกณฑ์ข้อนี้ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะเป็นการจำกัด
สิทธิเสรีภาพที่กระทำโดยกฎหมาย มีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป และระบุบทบัญญัติ
รัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจตรากฎหมายแล้ว รวมทั้งยังกอปรด้วยเหตุผลอื่นๆ ดังนี้
ประการแรก เมื่อสืบค้นถึงเจตนารมณ์ในการบัญญัติมาตรา 328 (2) ของ
รัฐธรรมนูญ 2540 แล้ว พบว่า การที่มาตรา 328 (2) ห้ามมิให้นำเอาเหตุที่
พรรคการเมืองไม่ส่งสมาชิกสมัครรับเลือกตั้งมาเป็นเหตุให้ต้องเลิกหรือยุบ
พรรคการเมืองนั้น หมายความเฉพาะ “...การไม่บังคับให้พรรคการเมืองส่งผู้สมัครรับ
124 Canada: Figueroa v. Canada (Attorney General), [2003] 1 S.C.R. 912, 2003 SCC 37.
125 สุรเดช ชมเกล็ดแก้ว, ปัญหาการยุบพรรคการเมืองที่กระทบต่อเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง,
วิทยานิพนธ์หลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต, (คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551), น. 124 และ
147.