Page 253 - kpi12821
P. 253

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                    คือ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. .... ที่คณะกรรมาธิการยกร่าง

                    รัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (2550) จัดทำยกร่างและเสนอต่อสภานิติบัญญัติ
                    แห่งชาติ ปรากฎความขัดแย้งในร่างมาตรา 77 ว่า “พรรคการเมืองย่อมเลิกด้วยเหตุใด
                    เหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้... (1)... (3) ไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา
                    ผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปเกินสองครั้งติดต่อกัน... (4)...” 130


                               ประการที่สาม เหตุแห่งการสิ้นสภาพพรรคการเมืองข้อนี้มิได้กระทบ
                    กระเทือนสาระสำคัญของเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรม
                    ทางการเมือง เพราะสอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติของพรรคการเมืองที่ต้องมุ่งทำให้

                    นโยบายของพรรคเป็นนโยบายของรัฐด้วยการเข้าสู่กลไกอำนาจรัฐผ่านการเลือกตั้ง ส.ส.
                    เฉกเช่นที่ตำรารัฐศาสตร์หลายเล่มได้อธิบายไว้ อีกทั้งยังสอดรับกับเจตนารมณ์ในการ
                    รับรองเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองที่ว่า “...เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมือง

                    ของประชาชนและเพื่อดำเนินกิจกรรมในทางการเมือง...” เพราะเมื่อพฤติการณ์
                    ปรากฏชัดว่า พรรคการเมืองใดไม่มีการยึดถือและดำเนินการตามเป้าหมายหรือ
                    วัตถุประสงค์ของการที่บุคคลรวมกลุ่มกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองนั้นอีกต่อไปแล้ว
                    ก็สมควรที่จะให้การรวมกลุ่มดังกล่าวยุติลงอันเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพที่สอดคล้องกับ    1
                    ลักษณะธรรมชาติของการรวมกลุ่มในรูปพรรคการเมือง ดังเช่นแนวบรรทัดฐานของศาล

                    รัฐธรรมนูญเยอรมันและโปรตุเกส ซึ่งได้นำมาอธิบายไว้ก่อนหน้านี้

                               ประการที่สี่ เงื่อนเวลาการสิ้นสภาพพรรคการเมือง คือ การเลือกตั้งทั่วไป

                    2 ครั้งติดต่อกัน หรือเป็นระยะเวลา 8 ปีติดต่อกัน สุดแต่ว่าระยะเวลาใดจะยาวกว่ากัน
                    นั้น อธิบายได้ว่า ระยะเวลาที่สั้นที่สุดที่พรรคการเมืองจะสิ้นสภาพได้คือ 8 ปี ยาวที่สุด
                    คือ 8 ปีกับอีก 118 วัน ก็มิใช่ระยะเวลาที่คาดหมายมิได้ หรือสั้นจนเกินไป จึงหาได้
                    กระทบต่อหลักความได้สัดส่วนแต่อย่างใดไม่


                               และประการสุดท้าย แม้สภาผู้แทนราษฎรของไทยจะสงวนไว้ให้แต่เฉพาะ
                    บุคคลที่สังกัดพรรคการเมืองเท่านั้น อันเท่ากับเป็นการจำกัดสิทธิของบุคคลในการเป็น

                                           131
                    ผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยสภาพ  แต่เมื่อพิจารณาลึกลงไปในระดับปัจเจกชนแล้ว เห็นได้ว่า
                    ตลอด 8 ปี 118 วัน เป็นระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควรที่กฎหมายได้เปิดช่องไว้ให้แก่


                       130   โปรดดู เอกสารประกอบการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
                    พ.ศ. .... บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 46/2550 วันพุธที่ 22 สิงหาคม 2550.
                       131   โปรดดู General Comment No. 25: The right to participate in public affairs, voting
                    rights and the right of equal access to public service (Art. 25) 07/12/1996: CCPR/C/21/Rev.1/
                    Add.7, General Comment No. 25. (General Comments), § 17.
   248   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258