Page 252 - kpi12821
P. 252
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
เลือกตั้งในจำนวนที่ตายตัว...” เพื่อปฏิเสธหลักการบังคับให้พรรคการเมืองต้องส่ง
126
ผู้สมัครเป็นจำนวนขั้นต่ำตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2521 รัฐธรรมนูญ 2534 และ
พระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 ดังที่กล่าวมาแล้วในหัวข้อ 3.1 และเหตุที่
จำเป็นต้องบัญญัติเป็น มาตรา 328 (2) ก็เพื่อป้องกันมิให้มีการบัญญัติเหตุเลิกหรือ
ยุบพรรคตามหลักเกณฑ์ข้อนี้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
127
ที่รัฐสภาจะได้จัดทำขึ้นต่อไปภายหลังจากรัฐธรรมนูญ 2540 ใช้บังคับแล้วเท่านั้น
มิได้หมายความไปไกลถึงขนาดที่ว่า พรรคการเมืองไม่จำเป็นต้องส่งสมาชิกลงสมัครรับ
เลือกตั้ง หรือพรรคการเมืองไม่จำเป็นต้องมีเจตนารมณ์ดังกล่าวเลยก็ได้ เพราะมิเช่นนั้น
แล้ว จะกลับกลายเป็นการขัดต่อหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มในรูป
พรรคการเมืองเสียเอง
ความข้อนี้สามารถตรวจสอบได้จากเอกสารกรอบเบื้องต้นร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับประชาชนของสภาร่างรัฐธรรมนูญ และข้อเสนอในการปฏิรูปการเมืองไทยของ
คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตยซึ่งเป็นจุดเริ่มของการปฏิรูปการเมืองและเป็นที่มา
ของการจัดทำรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ตลอดจนรายงานการประชุมการจัดทำยกร่าง
128
รัฐธรรมนูญ 2540 129
0
ประการที่สอง ในทางกลับกัน การที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มิได้มีบท
บัญญัติใดๆ เหมือนอย่างมาตรา 328 (2) ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่ห้ามยุบเลิก
พรรคเพราะไม่ส่งคนลงสมัครนั้น อาจทำให้อนุมานได้ว่า รัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์ให้ยุบ
พรรคหรือให้พรรคสิ้นสภาพไปเพราะเหตุที่ไม่ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งได้ ซึ่งเมื่อสืบค้น
เอกสารเกี่ยวกับสภาร่างรัฐธรรมนูญ (2550) ก็พบหลักฐานที่ยืนยันสมมติฐานเช่นนั้น
126 คณะกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ สภาร่างรัฐธรรมนูญ, กรอบเบื้องต้นร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน,
(กรุงเทพฯ: สภาร่างรัฐธรรมนูญ, 2540), น. 45.
127 กรณีรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ต้องบัญญัติเนื้อความเช่นมาตรา 328 และมาตราอื่นๆ
ที่คล้ายคลึงกันของรัฐธรรมนูญ 2540 ไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 อีก เนื่องจากผู้ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 คือ
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้รับการมอบหมายหน้าที่ให้เป็นผู้จัดทำยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ที่สำคัญทั้ง 3 ฉบับเพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จึงไม่ต้องกังวลว่า หลังจากรัฐธรรมนูญประกาศใช้แล้ว
รัฐสภาจะตรากฎหมายที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ดังเช่นกรณีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญตาม
รัฐธรรมนูญ 2540; โปรดดู มาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2549 และมาตรา 295 ของรัฐธรรมนูญ 2550
เทียบกับมาตรา 323 ของรัฐธรรมนูญ 2540 และมาตรา 211 เตรส มาตรา 211 ปัณรส และมาตรา 211
อัฏฐารส ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539.
128 โปรดดู คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย, ข้อเสนอในการปฏิรูปการเมืองไทย, (กรุงเทพฯ: เรือนแก้ว
การพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ 3, 2539), น. 58.
129 โปรดดู วัลลียา ไชยศิริ, เรื่องเดิม, น. 87-99.