Page 217 - kpi12821
P. 217

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                                 13
                    บุคคลธรรมดา  ในการนี้ จึงมีความจำเป็นอยู่ในตัวเองที่รัฐจำต้องกำหนดระบบ
                    จดทะเบียน การขึ้นทะเบียน หรือการจดแจ้งจัดตั้ง ”กลุ่ม” ที่เป็นนิติบุคคลกับ
                    หน่วยงานของรัฐ เพื่อให้รัฐรับรู้และรับรอง “กลุ่ม” ดังกล่าวอย่างเป็นทางการ ในทาง
                    กลับกัน เมื่อการรวมกลุ่มดังกล่าวยุติลง นิติบุคคลที่รัฐรับรองสถานะอยู่นั้นก็ย่อมต้อง
                    สิ้นสภาพไปโดยตัวของมันเอง และเพื่อให้สอดรับกันกับตอนต้นที่รัฐเคยรับรองสถานะ
                    ของกลุ่มไปแล้ว ก็จำเป็นต้องยกเลิกการจดทะเบียน ถอนชื่อออกจากทะเบียน หรือ

                    ประกาศการสิ้นสภาพนิติบุคคล เพื่อปฏิเสธการมีอยู่ของกลุ่มที่เคยเป็นนิติบุคคล
                    ดังกล่าวอย่างเป็นทางการ


                               อนึ่ง เมื่อศึกษาถึงสาเหตุในการสิ้นสุดลงของการรวมกลุ่มแล้ว พบว่า นอก
                    เหนือจากการที่รัฐยุบเลิกกลุ่มเพราะได้มีการกระทำที่ผิดกฎหมาย การรวมกลุ่มของ
                    บุคคล ไม่ว่าจะเรียกในชื่อใด ไม่ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มระยะสั้นหรือถาวรยาวนานเพียงไร
                    ย่อมยุติลงได้ด้วยความสมัครใจของบุคคลผู้เป็นสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อ (ก)

                    สมาชิกแสดงเจตนายุบเลิกกลุ่ม (ข) ครบกำหนดเวลาตามเจตนาดั้งเดิมในการจัดตั้งกลุ่ม
                    นั้นๆ แล้ว (ค) ได้บรรลุเป้าหมายหรือเจตนารมณ์ของการรวมกลุ่มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
                    หรือ (ง) มีพฤติการณ์บ่งชี้ว่า สมาชิกของกลุ่มมิได้ยึดถือเจตนาดั้งเดิมในการรวมกลุ่มกัน  1
                    อีกต่อไป อาทิ ปล่อยให้สมาชิกลดจำนวนลงจนเหลือน้อยเกินกว่าจำนวนที่พอจะทำให้

                    บรรลุเป้าหมายของการรวมกลุ่มนั้นๆ ได้ โดยมิได้มีความพยายามหาสมาชิกใหม่ หรือ
                                                                                           14
                    ไม่มีการประชุมหรือทำกิจกรรมใดๆ ตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ยาวนานพอสมควร
                    กรณีต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นเหตุแห่งการสิ้นสุดลงตามธรรมชาติของการรวมกลุ่ม


                               กฎหมายไทยหลายฉบับที่เกี่ยวกับการรวมกลุ่มก็ล้วนแล้วแต่มีบทบัญญัติที่
                    สะท้อนหลักการข้อ (ง) นี้ เป็นต้นว่า นายทะเบียนย่อมถอนชื่อออกจากทะเบียนได้
                    เมื่อสมาคมหยุดดำเนินกิจการติดต่อกันตั้งแต่สองปีขึ้นไป หรือเมื่อมูลนิธิไม่สามารถ

                    ดำเนินกิจการต่อไปได้ไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ หรือหยุดดำเนินกิจการตั้งแต่สองปีขึ้นไป กรณี
                    ห้างหุ้นส่วนสามัญ บริษัท บริษัทมหาชน สหกรณ์ สหภาพแรงงาน สมาคมนายจ้าง


                       13   ป.พ.พ., ม. 65 และ ม. 67; ผู้วิจัยอธิบายตามทฤษฎีนิติบุคคลโดยการสมมติ (Fiction Theory) ของ
                    Savigny และของ Salmond ในขณะที่ Gierke และ Maitland เสนอทฤษฎีนิติบุคคลโดยสภาพ (Organic
                    Theory) ซึ่งมองว่า กฎหมายเพียงแต่รับรองสิ่งที่เป็นอยู่จริง โปรดดู ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล, นิติบุคคลและความรับ
                    ผิดทางอาญาของนิติบุคคล, (กรุงเทพฯ: นิติธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2549) น. 4 – 16; และ กิตติศักดิ์ ปรกติ,
                    สิทธิของบุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน, (กรุงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี๊, 2550) น. 18 – 36.

                       14   เทียบเคียงกรณีการเลิกสมาคมตาม ป.พ.พ., ม.101 (1) (2) (3) และ ม.102 (3), (5); และการเลิกมูลนิธิ
                    ตาม ม. 130 (1) (2) (3) และ ม. 131 (3).
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222