Page 214 - kpi12821
P. 214

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   ดังนั้น เสรีภาพของพรรคการเมืองก็ย่อมอาจถูกจำกัดได้ตามลักษณะธรรมชาติดังกล่าว

                   ด้วย อาทิ หากพรรคการเมืองไม่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองใดๆ เลยเป็นระยะเวลาที่
                   ยาวนานพอสมควร โดยไม่มีสมาชิกพรรคคนใดใส่ใจถือเป็นธุระ ก็อาจอนุมานได้ว่า
                   สมาชิกของพรรคนั้นมีเจตนาเลิกพรรคการเมืองไปโดยปริยายก็ได้ ดังจะได้กล่าวไว้โดย
                   ละเอียดอีกครั้งในหัวข้อ 1.2 ต่อไป


                             และโดยอาศัยตรรกะเดียวกัน อาจมีการนำข้อยกเว้น “เงื่อนไขพิเศษ” ใน
                   การจำกัดเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามมาตรา 64 มาใช้เป็นฐานในการจำกัดเสรีภาพใน
                   การจัดตั้งพรรคการเมืองได้ เท่าที่ไม่กระทบสาระสำคัญแห่งเสรีภาพของพรรคการเมือง

                   และอยู่ภายใต้กรอบความได้สัดส่วน เช่น อาศัยความในมาตรา 64 วรรคสองที่รับรอง
                   เสรีภาพในการรวมกลุ่มของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ภายใต้เงื่อนไขต้องไม่
                   กระทบต่อประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน ประกอบมาตรา 31 ที่รับรอง

                   ความเสมอภาคในสิทธิเสรีภาพของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อาจถูกจำกัด
                   ในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง มาใช้เป็นฐานอ้างอิงเพื่อการจำกัดเสรีภาพของข้าราชการ
                                                                          6
                   และเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้ดำรงตำแหน่งใดๆ ในพรรคการเมืองได้  แต่ทั้งนี้ จะห้ามถึง
                   ขนาดที่มิให้ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกตำแหน่งทุกประเภทงาน เข้าเป็นสมาชิก
         1
                   ของพรรคการเมืองเลยคงมิได้ หรืออาจอาศัยเงื่อนไขตามมาตรา 64 วรรคสาม “เพื่อ

                   รักษาความสงบเรียบร้อย” มาใช้อ้างอิงเพื่อจำกัดเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง
                                                                 7
                   มิให้มีการใช้ชื่อพรรคที่ขัดต่อ “ความสงบเรียบร้อย” ได้  เป็นต้น

                             ประการต่อมา เมื่อย้อนกลับไปพิจารณาเหตุผลความเป็นมาของมาตรา 47
                   และมาตรา 328 ของรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งรับรองเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง
                   และกำหนดสาระสำคัญพื้นฐานที่ต้องปรากฏในกฎหมายพรรคการเมือง โดยลำดับแล้ว
                   ยิ่งทำให้อนุมานเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งเป็นรากฐานของบทบัญญัติ

                                               8
                   เดียวกันในรัฐธรรมนูญ 2550  ได้อย่างกระจ่างชัดว่า เสรีภาพในการจัดตั้ง
                   พรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรมทางการเมืองนี้เป็นเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับ


                      6   พรป. พรรคการเมือง 2550, ม. 21 ว. 3 และ ม. 108.

                      7   พรป. พรรคการเมือง 2550, ม. 9 และโปรดดู ม. 66 และ ม. 94 (4) ประกอบ.
                      8   โปรดดู คณะกรรมาธิการวิสามัญ บันทึกเจตนารมณ์ จดหมายเหตุ และตรวจรายงานการประชุม สภาร่าง
                   รัฐธรรมนูญ, เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550, น. 57 – 58.
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219