Page 215 - kpi12821
P. 215
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
2540 และ 2550 รับรองแบบไว้สัมพัทธ์ (Relative Freedom) ที่รัฐอาจออกกฎหมาย
9
มาจำกัดได้ อาทิ การกำหนดเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 328 ว่า บุคคลตั้งแต่
15 คนขึ้นไปจึงจะร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองได้ก็ดี การบังคับให้พรรคการเมืองต้องจด
แจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองในทะเบียนพรรคการเมืองก็ดี การกำหนดให้มีหลักเกณฑ์
เกี่ยวกับการเลิกพรรคการเมืองก็ดี ย่อมเท่ากับเป็นการปฏิเสธการรับรองเสรีภาพ
ประการนี้แบบเด็ดขาด (Absolute Freedom) เพราะโดยลักษณะธรรมชาติของ
เสรีภาพในการรวมกลุ่ม บุคคลเพียงแค่ 2 คนก็น่าจะร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองได้แล้ว
อีกทั้งการบังคับให้ต้องจดแจ้งจัดตั้งกับภาครัฐหรือการกำหนดเหตุในการเลิก
พรรคการเมืองไว้ ก็เท่ากับเป็นการจำกัดเสรีภาพอยู่แล้วในตัวเอง
อนึ่ง เหตุผลในประการข้างต้นนั้นได้รับการยืนยันในคำวินิจฉัยคดียุบพรรค
ไทยรักไทยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญปฏิบัติหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณา
ประเด็นปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการกำหนดเหตุยุบพรรคการเมืองอื่นๆ
เพิ่มเติมเข้าไปในกฎหมายพรรคการเมือง 2541 เกินไปจากสิ่งที่รัฐธรรมนูญ 2540
มาตรา 63 บัญญัติไว้ ดังความตอนหนึ่งว่า
“...ทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 47 1
เป็นบทบัญญัติรับรองเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองโดยมีเงื่อนไขต้องเป็นการจัด
ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ 2 ประการกล่าวคือเพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของ
ประชาชนและเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้นตาม
วิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่
บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้บทบัญญัติดังกล่าวมีความหมายเพียงว่าองค์กรนิติบัญญัติจะ
ตรากฎหมายจำกัดเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์
2 ประการดังกล่าวไม่ได้ ไม่ได้มีความหมายเลยไปถึงว่าองค์กรนิติบัญญัติจะตรา
กฎหมายลงโทษพรรคการเมืองไม่ได้ ไม่ว่าพรรคการเมืองจะกระทำการอันมิชอบหรือ
ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมืองอย่างร้ายแรงเพียงใดก็ตาม...” 10
9 ในร่างรัฐธรรมนูญ (2540) ฉบับที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเสนอต่อคณะกรรมาธิการพิจารณา
ร่างรัฐธรรมนูญนั้น ความในมาตรา 328 เคยถูกบรรจุเป็นวรรคสามของมาตรา 46 (ตามร่างเดิม – ฉบับ 2540
มาตรา 47 เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง) ซึ่งต่อมา คณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญได้มีมติให้
บัญญัติเป็นมาตราใหม่ในบทเฉพาะกาล โปรดดู รายงานการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ
เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2540 ใน สภาบันพระปกเกล้า, CD-Rom ฐานข้อมูลรายงานการประชุมสภาร่าง
รัฐธรรมนูญ (สสร.) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
10 คดีพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย – ศร. ที่ 3 – 5/2550 ลงวันที่ 30
พฤษภาคม 2550 [รจ. ล. 124 ต.33ก (13 กรกฎาคม 2550) เล่ม 1 (น. 1 – 417) เล่ม 2 (น. 1 – 365)] เล่ม 1
น. 50 – 51.