Page 212 - kpi12821
P. 212

ฤาเสียงของประชาชนจะมีความหมายในการจัดทำงบประมาณของ อบต.?















                          ารสิ้นสภาพพรรคการเมืองแม้เป็นศัพท์ใหม่ซึ่งบัญญัติไว้เป็นครั้งแรกในพระราช
                          บัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 แต่ก็เป็นกรณีที่
                   กรัฐใช้อำนาจทำให้การรวมกลุ่มของบุคคลในรูปพรรคการเมืองสิ้นสุดลงโดยไม่
                   สมัครใจในลักษณะหนึ่ง ซึ่งไม่แตกต่างอะไรไปจากการยุบพรรคการเมืองในแง่ผลกระทบ

                   ต่อเสรีภาพของบุคคลในการจัดตั้งพรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรมทางการเมือง
                   อีกทั้งเหตุต่างๆ ซึ่งถูกบัญญัติเป็นหลักเกณฑ์ในการสิ้นสภาพพรรคการเมืองแต่ละข้อ
                   ก็ล้วนแต่ล้อมาจากเหตุแห่งการเลิกหรือยุบพรรคการเมืองตามกฎหมายฉบับก่อนๆ ดังนั้น
                   อันที่จริง การสิ้นสภาพพรรคการเมืองจึงมิใช่หลักการใหม่แต่อย่างใดในบทนี้


                        อันดับแรกจะกล่าวถึงหลักการสิ้นสภาพพรรคการเมืองในภาพรวม ก่อนจะ
                   อธิบายและวิเคราะห์เหตุแห่งการสิ้นสภาพพรรคการเมืองเป็นรายประเด็นโดยจะเน้นที่
         1 0       ปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ต่อจากนั้นจะนำเสนอปัญหาน่าคิดในเรื่อง

                   กระบวนการวินิจฉัยให้พรรคการเมืองสิ้นสภาพไป



                   1.  หลักการสิ้นสภาพพรรคการเมือง



                        ด้วยเหตุที่การดำรงอยู่ของพรรคการเมืองถือเป็นเสรีภาพโดยปริยาย (Implied

                   Freedom) ของเสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมืองและดำเนินกิจกรรมในทางการเมือง
                                               1
                   ที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้โดยชัดแจ้ง  โดยมิได้มีการบัญญัติข้อยกเว้นไว้อย่างเด่นชัด เพื่อ
                   ให้รัฐจำกัดเสรีภาพตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้โดยตรงเฉกเช่นสิทธิเสรีภาพใน
                   ประการอื่นๆ  เบื้องต้น จึงมีปัญหาน่าคิดว่า รัฐสภามีอำนาจในการออกกฎหมายกำหนด
                              2
                   ให้พรรคการเมืองที่จัดตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วสิ้นสภาพความเป็นพรรค
                   การเมืองไปได้หรือไม่ ซึ่งมีประเด็นสมควรพิจารณาดังนี้






                      1   ร.ธ.น., ม. 65 ประกอบ ม. 27
                      2   เช่น ร.ธ.น., ม. 33 ว. 3, ม. 34 ว.3, ม. 41 ว.2, ม. 43 ว.2, ม. 52 ว. 3,  ม. 63 ว. 2, ม. 64 ว. 3 เป็นต้น
   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217