Page 207 - kpi12821
P. 207
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
จากที่ศาลได้รับคำร้องแล้ว หากศาลเห็นสมควรหรือเมื่อผู้ร้องมีคำขอ ศาลอาจสั่งให้
พรรคการเมืองดังกล่าวระงับการดำเนินการใดๆ ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะอ่าน
70
คำวินิจฉัยก็ได้ ในการที่ศาลได้รับคำร้องก็ดี สั่งคุ้มครองชั่วคราวก็ดี หรือมีคำวินิจฉัย
แล้วก็ดี ประธานศาลรัฐธรรมนูญต้องแจ้งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติและคณะกรรมการ
การเลือกตั้งทราบด้วย 71
การพิจารณาคดียุบพรรคการเมืองให้กระทำโดยศาลรัฐธรรมนูญเต็ม
องค์คณะ (Full Bench) ซึ่งต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอย่างน้อย 7 ท่าน
จากตุลาการที่มีทั้งหมด 9 ท่าน และกระบวนพิจารณาต้องกระทำด้วยวาจา (Oral
72
Arguments) จะพิจารณาจากเอกสารโดยลำพังมิได้ ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถูกร้องโต้
แย้งข้อเท็จจริงและนำเสนอพยานหลักฐานได้อย่างเต็มที่ โดยศาลต้องกำหนดวัน
พิจารณาให้ชัดเจนเป็นการล่วงหน้า และออกหมายเรียกผู้ร้อง ผู้ถูกร้อง ตลอดจนผู้มี
ส่วนได้เสียอื่นๆ ให้มาเข้าร่วมในการดำเนินกระบวนพิจารณาด้วย 73
การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยทั่วไปให้เป็นไปตามเสียงข้างมากปกติ
(Simple Majority) ขององค์คณะ แต่สำหรับการวินิจฉัยสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใดนั้น
74
จะต้องมีตุลาการอย่างน้อย 6 ท่านลงมติให้ยุบพรรคการเมืองนั้นด้วย โดยคำวินิจฉัย 1
ต้องกระทำเป็นลายลักษณ์อักษรส่งให้แก่พรรคการเมืองผู้ถูกร้อง รัฐบาลผู้ร้อง สภา
นิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อศาลอ่านคำวินิจฉัยให้ยุบ
75
76
พรรคการเมืองใดแล้ว ย่อมส่งให้ผลพรรคการเมืองนั้นเป็นอันยุบไปนับแต่เวลาดังกล่าว
จากนั้น ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งลบชื่อพรรคการเมืองดังกล่าวออกจากทะเบียน
พรรคการเมืองและประกาศต่อสาธารณะโดยไม่ชักช้า 77
70 C.C.A., art. 57.
71 C.C.A., art. 58 (1).
72 C.C.A., art. 23 (1). ผู้สนใจเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ โปรดดู Tom Ginsburg, “The
Constitutional Court and the Judicialization of Korea Politics,” in Andrew Harding, and
Penelope Nicholson (eds), New Courts in Asia, (London: Routledge, 2009, pp. 145-157, และ
Tom Ginsburg, Judicial Review in New Democracies: Constitutional Courts in Asian Cases,
(Cambridge, Cambridge University Press, 2003) น. 206-246.
73 C.C.A., art. 30.
74 C.R.K., art. 113, and C.C.A., art. 23 (2).
75 C.C.A., art. 58.
76 C.C.A., art. 59.
77 C.C.A., art. 60, and P.P.A., art. 47.