Page 213 - kpi12821
P. 213

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                          1.1  รัฐธรรมนูญมิได้รับรองเสรีภาพเกี่ยวกับ

                             พรรคการเมืองไว้ในลักษณะเด็ดขาดที่รัฐจะจำกัดมิได้

                               เสรีภาพของปัจเจกชนในการรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองก็ดี เสรีภาพใน

                    การดำรงอยู่ของพรรคการเมืองก็ดี หรือเสรีภาพของพรรคการเมืองในการดำเนิน
                    กิจกรรมทางการเมืองก็ดี มิใช่เสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
                                                                  3
                    อันมิอาจเข้าแทรกแซงได้ ไม่ว่าโดยรูปแบบวิธีการใดๆ  ดังเหตุผลที่พอจะประมวลได้
                    หลายประการ ดังต่อไปนี้


                               ประการแรก รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งในวรรคสองของมาตรา 65
                    ส่งผลให้รัฐอาจจำกัดเสรีภาพของพรรคการเมืองในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดโครงสร้าง

                    ภายในองค์กร การดำเนินกิจการ และข้อบังคับของพรรคการเมือง เพื่อให้สอดคล้องกับ
                    หลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
                    ประมุขได้


                               ประการที่สอง แม้รัฐธรรมนูญจะมิได้กำหนด “เงื่อนไขพิเศษ” หรือ
                    “เงื่อนไขทั่วไป”  ในการจำกัดเสรีภาพไว้โดยตรงในมาตรา 65 แต่เสรีภาพดังกล่าว     1 1
                                   4
                    ก็ต้องตกอยู่ภายใต้หลักทั่วไปในเรื่องขอบเขตการใช้สิทธิเสรีภาพของบุคคลตามมาตรา

                    28 กล่าวคือ ต้องไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ
                    และต้องไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน 5

                               ประการที่สาม ด้วยความที่พรรคการเมืองเป็นการรวมกลุ่มในลักษณะหนึ่ง

                    เช่นเดียวกับสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ องค์การเอกชน ชุมชน หรือหมู่คณะอื่นๆ
                    พรรคการเมืองย่อมถือกำเนิดขึ้นและสิ้นสุดลงตามลักษณะธรรมชาติของการรวมกลุ่ม

                       3   เช่น เสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 หลัก “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มี
                    โทษทางอาญา” ตามมาตรา 39 หลักการห้ามเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักรตามมาตรา 34
                    วรรคสามของรัฐธรรมนูญ ฯลฯ ซึ่งบางท่านเรียกว่า “สิทธิและเสรีภาพที่ปราศจากเงื่อนไขของกฎหมาย” โปรดดู
                    บรรเจิด สิงคะเนติ, หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามรัฐธรรมนูญ, (กรุงเทพฯ:
                    วิญญูชน พิมพ์ครั้งที่ 2, 2547), น. 65 – 66.

                       4   เงื่อนไขพิเศษ เช่น รัฐธรรมนูญ มาตรา 42 “การเวนคืออสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่... เฉพาะ
                    กิจการของรัฐเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ...ฯลฯ” เงื่อนไขทั่วไป เช่น
                    มาตรา 32 วรรคสาม “การค้นตัวบุคคลหรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำ
                    มิได้ เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ” โปรดดู เรื่องเดียวกัน, น. 64 – 66 และ 219 – 221.

                       5   เรื่องเดียวกัน, น. 220 – 247; และ เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, หลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ,
                    (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2547) น.  129 – 132.
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218