Page 141 - kpi12821
P. 141

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                    และเป็นหน้าที่ของศาลที่จะเพิกถอนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่ล้ำเส้นขอบเขตแห่งหลัก

                    ความยุติธรรมตามกฎหมายที่สูงกว่า (the higher law principle of justice) โดย
                                                                                      202
                    อธิบายว่า เมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ไม่ว่าในส่วนที่บัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง  หรือ
                    โดยปริยาย ทำให้อนุมานได้ว่า ในบรรดาบทบัญญัติเหล่านั้นย่อมมีลำดับศักดิ์สูงต่ำไม่
                    เท่ากัน บทบัญญัติใดมีลำดับศักดิ์ต่ำกว่าย่อมต้องตีความหรือบังคับใช้ให้สอดคล้องกับ
                                                  203
                    บทบัญญัติที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า  ตัวอย่างเช่น ในบรรดาบทบัญญัติทั้งหลาย
                    บทบัญญัติที่รับรองและคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ย่อมมีคุณค่าทาง
                    รัฐธรรมนูญ (Constitutional Value) สูงกว่าบทบัญญัติอื่นๆ ในฐานะที่เป็นหลักการ
                    พื้นฐานของรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดี แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญยอมรับนิติวิธีการตีความ

                    รัฐธรรมนูญดังกล่าว แต่ศาลก็ได้ปฏิเสธข้อโต้แย้งนี้ โดยให้เหตุผลว่า “...เป็นธรรมชาติ
                    ของอำนาจในการก่อตั้งองค์กรทางการเมืองที่จะกำหนดข้อยกเว้นสำหรับหลักการ
                    พื้นฐานของตัวรัฐธรรมนูญเอง...” 204


                          6.2 การยุบพรรคคอมมิวนิสต์ KPD มิได้ละเมิดหลักการ
                             รวมชาติเยอรมนี


                               เหตุผลประการแรกที่พรรคคอมมิวนิสต์ KPD กล่าวอ้างเพื่อสนับสนุนข้อ    10
                    โต้แย้งว่าบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 21 (2) ขัดต่อหลักการพื้นฐานของรัฐธรรมนูญ
                    ก็คือ การยุบพรรค KPD นั้นละเมิดหลักการรวมชาติเยอรมัน (German Reunification)
                    อันเป็นเป้าหมายหลักของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีชื่อเรียกตามรูปศัพท์ว่า “กฎหมายพื้นฐาน”

                                   205
                    (Grundgesetz)  เนื่องจากพรรค KPD อาจทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกับรัฐบาล

                       201   BVerfGE 1, 14 (32 – 33) [ข้อโต้แย้งในคดีการรวม 3 มลรัฐเข้าเป็นมลรัฐ Baden-Württemberg]
                    อ้างถึงใน David P. Currie, เรื่องเดิม, น. 219; บางท่านเรียกว่า “หลักการที่เหนือกว่าบทบัญญัติ” (Supra-
                    positive principles of law) โปรดดู Donald P. Kommers, “Germany: Balancing Rights and Duties,”
                    เรื่องเดิมเชิงอรรถที่ 72, น. 189; หรือ “บรรทัดฐานที่เหนือกว่ารัฐธรรมนูญ” (Supra-constitutional Norms)
                    โปรดดู Paul Franz, เรื่องเดิม, น. 59 – 60; อย่างไรก็ดี แนวคิดดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยนักนิติศาสตร์
                    ที่ยึดถือสำนักความคิดปฏิฐานนิยมหรือสำนักกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง (Legal Positivism) อย่างมาก โปรดดู Paul
                    Franz, เรื่องเดิม, น. 59 และ 60 ในเชิงอรรถที่ 47.

                       202   GG, § 79 (3), § 1, และ § 20.
                       203    David P. Currie, เรื่องเดิม, น. 218 – 219;

                       204   BVerfGE 1, 14 (32 – 33) อ้างถึงใน David P. Currie, เรื่องเดิม, น. 219.
                       205   ผู้ร่างรัฐธรรมนูญเยอรมันปี ค.ศ. 1949 ตั้งใจเลือกใช้คำกลางๆ คือ “กฎหมายพื้นฐาน” (Grundgesetz)
                    เรียกกฎหมายสูงสุดของประเทศแทนคำว่า “รัฐธรรมนูญ” (Verfassung) ซึ่งฟังดูยิ่งใหญ่และสมศักดิ์ศรีกว่า
                    เนื่องจากว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญต้องการเน้นย้ำลักษณะชั่วคราวในระยะเปลี่ยนผ่านของเยอรมันตะวันตก และ
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146