Page 125 - kpi12821
P. 125
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
4.4 การกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราว
ในช่วงเวลาใดๆ ก่อนหรือระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาหลัก เมื่อ
130
คู่ความหรือผู้มีสิทธิเข้าร่วมในคดีมีคำขอ ศาลรัฐธรรมนูญอาจกำหนดวิธีการคุ้มครอง
ชั่วคราวให้ใช้บังคับได้ หากศาลเห็นว่า มีกรณีที่จำเป็นต้องกระทำอย่างเร่งด่วนเพื่อ
ประโยชน์สาธารณะ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดแก่คู่ความหรือแก่สาธารณะ หรือ
เพื่อประโยชน์ส่วนรวมอย่างอื่น วิธีการคุ้มครองชั่วคราวที่ศาลกำหนดนี้มีผลใช้บังคับ
ไม่เกิน 6 เดือน เว้นแต่จะมีการขยายเวลาออกไปอีกด้วยคะแนนเสียงสองในสามของ
องค์คณะ ตัวอย่างเช่น ในคดีพรรค SRP ศาลมีคำสั่งต่อเนื่องกันไปหลายครั้งห้ามมิให้
131
132
พรรค SRP ดำเนินกิจกรรมใดๆ ทางการเมืองตลอดการพิจารณาคดี หรือในคดีพรรค
NPD ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้สำนักงานอัยการกรุงเบอร์ลินคืนคอมพิวเตอร์และ
อุปกรณ์ต่อพ่วงให้แก่นาย Horst Mahler ทนายความที่แก้ต่างให้แก่พรรค NPD ซึ่งถูก
ศาลอาญาออกหมายจับในคดีละเมิดกฎหมายว่าด้วยการยุยงให้เกิดความเกลียดชัง
(Hate Speech Law) เพื่อคุ้มครองสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรมของพรรค NPD
133
4.5 การดำเนินกระบวนพิจารณาหลัก
ศาลมีหน้าที่ค้นหาความจริงโดยการไต่สวน และเพื่อประโยชน์ในการค้นหา
ความจริงแห่งคดี ศาลมีอำนาจกำหนดว่า ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานใดควรนำเข้าสู่
การพิจารณา โดยไม่ต้องผูกพันอยู่กับคำร้องของผู้มีส่วนร่วมในคดี “นอกจากนี้
134
ศาลรัฐธรรมนูญยังอาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วตามคำ
พิพากษาถึงที่สุดของศาลอื่นได้ ทั้งนี้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วดังกล่าวจะ
ต้องได้มาในกระบวนวิธีพิจารณาที่ศาลเป็นผู้ค้นหาความจริงตามหน้าที่ (von
Amtswegen)” โดยศาลมีอำนาจระงับการดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นการชั่วคราว
135
130 BVerfGE 71, 350 (352) อ้างถึงใน วรเจตน์ ภาคีรัตน์, เรื่องเดิม, น. 66.
131 BVerfGE, § 32 (1), (6).
132 BVerfGE 2, 1 (8) อ้างถึงใน Jörn Ipsen, เรื่องเดิม, น. 238.
133 “Federal Constitutional Court Issues Temporary Injunction in the NPD Party Ban Case,”
GLJ, Vol. 2 Issue 13 (August, 2001).
134 เรียกว่า หลักการค้นหาความจริงโดยการไต่สวน (Untersuchungsgrundsatz – Inquisitorial system)
ตรงกันข้ามกับวิธีพิจารณาในคดีแพ่งซึ่งเป็นหลักกล่าวหา (Beibringungsgrundsatz – Accusatory system) ที่
การวินิจฉัยคดีของศาลย่อมถูกจำกัดบนพื้นฐานของพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่คู่ความนำเสนอต่อศาล โปรดดู
วรเจตน์ ภาคีรัตน์, เรื่องเดิม, น. 33 – 34; และ บรรเจิด สิงคะเนติ, เรื่องเดิม, น. 269 – 270.
135 วรเจตน์ ภาคีรัตน์, เรื่องเดิม, น. 34.