Page 121 - kpi12821
P. 121

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                    4. ขั้นตอนการพิจารณายุบพรรคการเมือง



                          การประกาศว่าพรรคการเมืองใดมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญและสั่งยุบพรรคการเมือง
                    เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ (Bundesverfassungsgericht) เท่านั้น
                                                                                          113
                    ซึ่งอาจแบ่งออกเป็นขั้นตอนย่อยๆ ได้ดังนี้

                          4.1  การริเริ่มคดียุบพรรคการเมือง


                               สภาผู้แทนราษฎรแห่งสหพันธ์ สภาที่ปรึกษาแห่งสหพันธ์ หรือรัฐบาลแห่ง
                    สหพันธ์ต่างมีอำนาจร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ประกาศว่าพรรคการเมืองใดมิชอบ
                    ด้วยรัฐธรรมนูญและสั่งยุบพรรคการเมืองนั้นได้ โดยต้องไม่คำนึงถึงเขตพื้นที่

                    ที่พรรคการเมืองดังกล่าวดำเนินการ ในทางตรงกันข้าม รัฐบาลของมลรัฐใดมลรัฐหนึ่ง
                    จะร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ก็ต่อเมื่อพรรคการเมืองดังกล่าวดำเนินกิจกรรมของพรรค
                                                 114
                    เฉพาะแต่ในเขตมลรัฐนั้นๆ เท่านั้น  คำว่ารัฐบาลของมลรัฐ ณ ที่นี้ หมายความรวมถึง
                    รัฐสภาของมลรัฐด้วย  ส่วนบุคคลหรือองค์กรอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้
                                        115
                       113   ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ (Verfassungsorgan) และเป็นศาลแห่งสหพันธ์
                    ที่มีความเป็นอิสระ แบ่งเป็นสององค์คณะแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่ละองค์คณะมีอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจน
                    ประกอบด้วยตุลาการ 8 ท่าน รวมสององค์คณะเท่ากับ 16 ท่าน มีวาระดำรงตำแหน่ง 12 ปีและดำรงตำแหน่งได้
                    เพียงวาระเดียว; BVerfGG, §§ 1 – 4. [Bundesverfassungsgerichts-Gesetz– Sections 1 to 4 of the
                    Federal Constitutional Court Act] ผู้สนใจโปรดดู วรเจตน์ ภาคีรัตน์, วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ:
                    ศึกษาเปรียบเทียบกรณีของศาลรัฐธรรมนูญต่างประเทศกับศาลรัฐธรรมนูญไทย, (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2546),
                    น. 21 – 27; และ บรรเจิด สิงคะเนติ, ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ, (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2544), น.
                    72 – 89.
                       114   BVerfGE, § 43; อนึ่ง กฎหมายใช้ถ้อยคำว่า “organization” หรือ “องค์กร” แต่มีผู้อธิบายว่าคือ
                    “activities” หรือ “กิจกรรม” โปรดดู Jörn Ipsen, เรื่องเดิม, น. 235.
                          นอกจากนี้ เคยมีนักกฎหมายไทยเขียนอธิบายว่า “ในบางกรณีการริเริ่มคดียุบพรรคการเมืองเป็นของ
                    รัฐบาลมลรัฐเท่านั้น” ด้วยความเคารพต่อท่านผู้เขียน ผู้วิจัยกลับเห็นไปในทางตรงกันข้ามเนื่องจากเมื่อพิจารณา
                    บทบัญญัติมาตรา 43 ของกฎหมายศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ประกอบกับคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในคดีพรรค
                    KPS [BVerfGE 6, 300] ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในเขตมลรัฐ Saarland เท่านั้นแต่กลับถูกรัฐบาลแห่งสหพันธ์เป็นผู้เสนอ
                    คำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ แสดงให้เห็นได้ชัดว่า โดยหลักแล้ว รัฐบาลแห่งสหพันธ์ สภาผู้แทนราษฎรแห่ง
                    สหพันธ์ และสภาที่ปรึกษาแห่งสหพันธ์ มีอำนาจเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ ส่วนอำนาจของ
                    รัฐบาลมลรัฐนั้นถือเป็นข้อยกเว้น โปรดดู หัวข้อ 5.2 (ถัดไป) และโปรดดู สุนทรียา เหมือนพะวงศ์, “ทฤษฎี
                    กฎหมายเยอรมันเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง,” หนังสือพิมพ์ประชาไท วันที่ 29 พฤษภาคม 2550 เทียบ Carl
                    J. Schneider, เรื่องเดิม, น. 539.
                       115    Dan Gordon, เรื่องเดิม, น. 376; ตัวอย่างเช่น สภาแห่งนครรัฐ Hamburg เคยเสนอคำร้องขอให้ยุบ
                    พรรค Nationale Liste (NL) ซึ่งเป็นพรรคนาซีใหม่ที่ดำเนินการในเขต Hamburg แต่ศาลรัฐธรรมนูญแห่ง
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126