Page 117 - kpi12821
P. 117
ณรงค์เดช สรุโฆษิต
3.3.2 เป้าหมายของพรรคการเมืองขัดต่อหลักการพื้นฐาน
การที่พรรคการเมืองมีเป้าหมายจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรัฐ
โดยการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติรัฐธรรมนูญบางมาตราหรือแม้แต่หลายสิบมาตราเพียง
88
เท่านี้ จะถือว่าพรรคการเมืองดังกล่าวมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญมิได้ มิเช่นนั้นแล้ว
มาตรการยุบพรรคการเมืองจะกลายเป็นเครื่องมือในการปิดบังครอบงำความเห็นแย้งที่
89
มีเหตุผลและชอบธรรม (Legitimate dissent) ไป หากแต่เฉพาะพรรคการเมืองที่มี
เป้าหมายจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของรัฐถึงระดับหลักการพื้นฐานตามข้อ 3.1 และ
3.2 เท่านั้นที่อาจถือว่ามิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องคำนึงว่า เป้าหมายดังกล่าว
90
เป็นเป้าหมายปัจจุบัน ระยะสั้น หรือระยะยาว หรือแม้แต่เป้าหมายดังกล่าวมีโอกาสที่
91
จะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ ก็ไม่สำคัญ 92
เป้าหมายที่ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์เคยวินิจฉัยว่าเป็นปฏิปักษ์
ต่อหลักการพื้นฐานของระบอบเสรีประชาธิปไตยนั้น ได้แก่ การสร้างระบอบเผด็จการ
ชนชั้นกรรมาชีพ (Dictatorship of the Proletariat) ซึ่งจำเป็นต้องล้มล้างระบอบเสรี
94
ประชาธิปไตยลงเสียก่อน การสถาปนาระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว อันจะ
93
88 BVerfGE 2, 1 (12) อ้างถึงใน บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ, เรื่องเดิมเชิงอรรถที่ 20, น. 91 – 92.
89 BVerfGE 2, 1 (10 – 12) อ้างถึงใน David P. Currie, เรื่องเดิม, น. 220.
90 BVerfGE 2, 1 (12 – 13) อ้างถึงใน David P. Currie, เรื่องเดิม, น. 216.
91 BVerfGE 5, 85 (235 – 236) อ้างถึงใน Dan Gordon, เรื่องเดิม, น. 375 ในเชิงอรรถที่ 195; และ
BVerfGE5, 85 (143, 235) อ้างถึงใน Jörn Ipsen, เรื่องเดิม, น. 233.
92 BVerfGE 5, 85 อ้างถึงใน Paul Franz, เรื่องเดิม, น. 57; และ Walter F. Murphy and Joseph
Tanenhaus, เรื่องเดิม, น.624 – 625; อย่างไรก็ดี ประเด็นนี้ถูกวิจารณ์อย่างมากว่า ศาลควรต้องพิจารณาความ
น่าจะเป็นของภยันตรายที่แท้จริง (the likelihood of any real danger) บางท่านเสนอว่า ต้องเป็นภยันตราย
ที่ชัดเจนและใกล้จะถึง (Clear and present danger) ภยันตรายที่เป็นรูปธรรม (Concrete Danger) หรือ
ภัยคุกคามต่อเสรีภาพ ณ ขณะปัจจุบัน (Immediate threat to Freedom) โปรดดู Dan Gordon, เรื่องเดิม,
น. 373–375 และ 376 ในเชิงอรรถที่ 198; แต่ทั้งนี้ ต้องเข้าใจบริบทการเมืองในช่วงทศวรรษ 1950 ที่ศาลมีคำ
วินิจฉัยดังกล่าวด้วยว่า เป็นช่วงเวลาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองและการล่มสลายของพรรคนาซี ประกอบกับ
สถานการณ์ภัยคุกคามของระบอบคอมมิวนิสต์โซเวียตที่ครอบครองพื้นที่เยอรมันตะวันออก โปรดดู
“Government Commits to Seeking a Ban of the Extreme Right-Wing National Democratic Party
of Germany (NPD),” GLJ, Vol. 1 Issue 2 (November,2000), น. 5 – 7.
93 BVerfGE 5, 85 อ้างถึงใน Walter F. Murphy and Joseph Tanenhaus, เรื่องเดิม, น.621 – 624;
David P. Currie, เรื่องเดิม, น. 218; และ Walter F. Murphy, “Excluding Political Parties: Problems for
Democratic and Constitutional Theory,” Germany and Its Basic Law, (Badan-Badan: Nomos
Verlagsgesellschaft, 1993), น. 181 – 182.
94 BVerfGE 2, 1 (60 – 62) อ้างถึงใน Dan Gordon, เรื่องเดิม, น. 372 – 373, 375; David P. Currie,
เรื่องเดิม, น. 216 – 217; และ BVerfGE 5, 85 อ้างถึงใน Walter F. Murphy and Joseph Tanenhaus,
เรื่องเดิม, น. 623.