Page 114 - kpi12821
P. 114

แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง




                   ลงทั้งหมด หรือทำลายหลักการพื้นฐานดังกล่าวแต่เพียงข้อหนึ่งข้อใดย่อมถือเป็นการ

                   กระทำที่เป็นปฏิปักษ์และอาจถือเป็นเหตุให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าพรรคการเมืองนั้น
                   มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญและสั่งยุบพรรคได้ 72


                             อนึ่ง แม้รัฐธรรมนูญ มาตรา 21 (1) จะกำหนดให้โครงสร้างภายในของ
                   พรรคการเมืองต้องสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย แต่ลำพังเพียงการฝ่าฝืนมิได้จัด
                   โครงสร้างภายในให้เป็นประชาธิปไตยแต่เพียงอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอที่จะถือเป็นเหตุ
                   ให้ยุบพรรคการเมืองนั้นได้  73


                        3.2 เป็นภัยคุกคามการดำรงอยู่ของสหพันธ์สาธารณรัฐ
                           เยอรมนี


                             หลักสหพันธรัฐ (Bundesstaat – Federation) และหลักสาธารณรัฐ
                   (Republik – Republic) เป็นหลักการพื้นฐานที่ไม่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ แม้โดยการ
                   เสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญก็มิอาจกระทำได้ การจะยกเลิกหลักการดังกล่าวกระทำ

                   ได้เพียงวิธีการเดียวคือ ยกเลิกหรือล้มล้างรัฐธรรมนูญเดิมทั้งฉบับและจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ 74

                             หลักสหพันธรัฐนั้น เบื้องต้นคือ ต้องมีรูปของรัฐเป็นแบบรัฐรวม โดยมี

                   โครงสร้างของรัฐสองระดับได้แก่ สหพันธ์และมลรัฐ และมลรัฐต่างๆ ต้องมีส่วนร่วมใน
                   กระบวนการออกกฎหมายของสหพันธ์ผ่านสภาที่ปรึกษาแห่งสหพันธ์  (Bundesrat)
                                                                              75
                   ส่วนหลักสาธารณรัฐนั้น คือ มีประมุขแห่งรัฐเป็นประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่งตาม
                   วาระ มิได้สืบทอดตำแหน่งโดยสายโลหิตหรือตามความประสงค์ของผู้ดำรงตำแหน่ง ณ

                          76
                   ขณะนั้น  และต้องเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบผู้แทน (Representative Democracy)
                   มิใช่ระบอบประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) 77

                      72   Jörn Ipsen, เรื่องเดิม, น. 234.

                      73   BVerfGE 2, 1 (14) อ้างถึงใน David P. Currie, เรื่องเดิม, น. 216.
                      74   GG, §79 (3), และ §20; BVerfGE 30, 1 (24 – 26) อ้างถึงใน Donald P. Kommers,
                   “Germany: Balancing Rights and Duties,” in Jeffrey Goldsworthy (ed.), Interpreting Constitutions:
                   A Comparative Study, (New York: Oxford University Press, 2007), น.172, 167 – 168, และ 171 –
                   172; Samuel Issacharoff, “Fragile Democracies,” Harvard Law Review, Vol. 120 No. 6 (April
                   2007), น. 1429 – 1430.

                      75   บุญศรี  มีวงศ์อุโฆษ, เรื่องเดิมเชิงอรรถที่ 2, น. 174 – 184.
                      76   บุญศรี  มีวงศ์อุโฆษ, เรื่องเดิมเชิงอรรถที่ 2, น. 71 – 76.

                      77    David P. Currie, เรื่องเดิม, น. 102.
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119