Page 113 - kpi12821
P. 113

ณรงค์เดช  สรุโฆษิต




                          3.1  เป็นปฏิปักษ์ต่อหลักการพื้นฐานของระบอบเสรี

                             ประชาธิปไตย

                               หลักการพื้นฐานของระบอบเสรีประชาธิปไตย (Die Freiheitlichen

                    demokratischen Grundordnung – Free Democratic Basic Order) ตามแนว
                    บรรทัดฐานของศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์นั้น ได้แก่ “หลักการเคารพสิทธิมนุษยชน
                    ตามที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิในชีวิตและการพัฒนาตนเอง
                    อย่างเสรีของปัจเจกชน หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน หลักการแบ่งแยก

                    อำนาจ หลักความรับผิดชอบของรัฐบาล หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่าย
                    ปกครอง หลักความเป็นอิสระของตุลาการ และหลักระบบหลายพรรคการเมือง
                    (Multi-party System) ซึ่งพรรคการเมืองทั้งหลายต่างมีโอกาสในการแข่งขันอย่าง
                    เท่าเทียมรวมทั้งสิทธิที่จะจัดตั้งและแสดงออกซึ่งการคัดค้านตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ”
                                                                                           68
                    นี่คือ “เนื้อหาที่เป็นกฎเกณฑ์” (Normative order) ของรัฐประชาธิปไตย
                    (Democracy) อันเป็น “ระบบกฎหมายที่ปฏิเสธรัฐที่ใช้ความรุนแรงหรือที่ใช้อำนาจ
                    ตามอำเภอใจ ยึดถือหลักนิติรัฐบนพื้นฐานของหลักการกำหนดชะตาอนาคตของ
                    ประชาชนด้วยตนเอง (The Principle of Self-determination of the                    1

                    people) ดำเนินการตามหลักเสียงข้างมากอย่างเป็นประชาธิปไตย และคุ้มครอง
                                               69
                    เสรีภาพและความเสมอภาค”  การปกครองระบอบเสรีประชาธิปไตยจึงมิได้หมายถึง
                    แต่เฉพาะ “กระบวนการ” (Process) หากแต่มี “เนื้อหาสาระ” (Substances) ที่เป็น
                    องค์ประกอบพื้นฐานอยู่ด้วย  และยิ่งไปกว่านั้น โครงสร้างของรัฐและระบบกฎหมายที่
                                            70
                    ตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานเหล่านี้ไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ภายใต้กรอบของ
                    รัฐธรรมนูญ  ดังนั้น ความพยายามใดๆ ที่จะล้มล้างการปกครองระบอบเสรีประชาธิปไตย
                             71

                       68   BVerfGE 2, 1 (13) อ้างถึงใน Paul Franz, เรื่องเดิม, น. 57; และ Helmut Steinberger, เรื่องเดิม,
                    น. 137 – 138.

                       69   BVerfGE 2, 1 (12), BVerfGE 5, 85 (139) อ้างถึงใน Jörn Ipsen, เรื่องเดิม, น. 234;
                       70   Carl J. Schneider, เรื่องเดิม, น. 537 – 538; ในคดียุบพรรค SRP พรรคผู้ถูกร้องได้แย้งว่า “หลักการ
                    พื้นฐานของระบอบเสรีประชาธิปไตย” ตามมาตรา 21 (2) ของรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเพียงแบบต้นร่าง (Blueprint)
                    ของโครงสร้างการปกครองรัฐเท่านั้น และสิ่งที่พรรค SRP เสนอต่อประชาชนก็เป็นแบบต้นร่างทางเลือกอีกทาง
                    หนึ่งซึ่งหากประชาชนส่วนมากเห็นชอบด้วยตามวิถีทางประชาธิปไตย ก็ย่อมเป็นความจริงขึ้นมาได้” กล่าวอีกนัย
                    หนึ่ง พรรค SRP อ้างกระบวนการที่เป็นประชาธิปไตยเพื่อนำไปสู่การปกครองตามรูปแบบที่พรรคเสนอ แต่ศาล
                    รัฐธรรมนูญปฏิเสธข้อโต้แย้งดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง; โปรดดู Paul Franz, เรื่องเดิม, น. 57

                       71   GG, §79 (3), และ §20; บุญศรี  มีวงศ์อุโฆษ, เรื่องเดิมเชิงอรรถที่ 2, น. 23 – 24, 28; และ
                    David P. Currie, เรื่องเดิม, น. 10–26.
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118