Page 122 - kpi12821
P. 122
แนวทางปรับปรุงกฏหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง
ไม่สามารถเสนอคำร้องได้ นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่องค์กรต่างๆ เหล่านี้เป็นองค์กรกลุ่ม
116
(Collective/Collegial Body) การเสนอคำร้องจึงต้องกระทำในรูปมติ (Resolution)
117
ขององค์กร โดยคำร้องต้องทำเป็นหนังสือ ระบุเหตุแห่งการร้อง และพยานหลักฐานที่
118
อ้างอิงในคดี เช่นในคดีล่าสุดที่มีการเสนอเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี ค.ศ. 2001
กรณีพรรคชาติประชาธิปไตยแห่งเยอรมนีหรือ NPD นั้น รัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร
และสภาที่ปรึกษาของสหพันธ์ต่างก็ได้ยื่นคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ 119
ปัญหาสำคัญที่ต้องพิจารณาในชั้นนี้ก็คือ การจะยื่นคำร้องว่า พรรค
การเมืองไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น เป็นอำนาจผูกพัน/หน้าที่ (Mandatory
Power/ Duty) หรือเป็นดุลพินิจ (Ermessen – Discretion) ขององค์กรต่างๆ ดังกล่าว
ในประเด็นนี้ ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้แล้วว่าเป็น “ดุลพินิจทางการเมือง”
(Political Discretion) ขององค์กรนั้นๆ ซึ่งศาลจะไม่เข้าไปควบคุมตรวจสอบ 120
สหพันธ์สั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณา เพราะเหตุว่า พรรคดังกล่าวมิใช่ “พรรคการเมือง” ตามบทนิยามในกฎหมาย
พรรคการเมือง; BVerfGE 91, 262; โปรดดู Donald P. Kommers, เรื่องเดิมในเชิงอรรถที่ 27, น. 236; และ
Hans-Heinrich VOGEL, “Prohibition of Political Parties in Germany,” เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง
“CONSTITUTIONAL RESTRICTIONS ON FREEDOM OF ASSOCIATION” BELGRADE, SERBIA, 2 JUNE
0
2009 โดยคณะกรรมาธิการเวนิส รหัสเอกสาร CDL-JU(2009)052 Engl. Only<http://www.venice.coe.int/
docs/2009/CDL-JU%282009%29052-e.asp>
116 วรเจตน์ ภาคีรัตน์, เรื่องเดิม, น. 45 – 46.
117 Report on Ongoing and Planned Measures and Activities of the Federal
Government Aimed at Combating Right-wing Extremism, Xenophobia, Anti-Semitism and
Violence pursuant to Subpara. 21 of the Resolution by the German Bundestag of 30
March 2001 (Doc.No. 14/5456), น. 76.
118 BVerfGG, § 23 (1).
119 แต่เนื้อหาในคำร้องทั้ง 3 ฉบับ และพยานหลักฐานที่อ้างอิงใกล้เคียงกันมาก โปรดดู “Federal
Constitutional Court Issues Temporary Injunction in the NPD Party Ban Case,” GLJ, Vol. 2 Issue
13 (August, 2001). โปรดดู เว็บไซต์วารสารกฎหมายเยอรมัน <http://www.germanlawjournal.com>
120 BVerfGE 39, 334 (359); และ BVerfGE 40, 287 (291); อ้างถึงใน Karl Doehring, เรื่องเดิม, น. 41;
Jörn Ipsen, เรื่องเดิม, น. 235; Eckart Klein และ Thomas Giegerich, “The Parliamentary Democracy,”
ใน Ulrich Karpen (ed.), The Constitution of the Federal Republic of Germany, (Baden-Baden:
Nomos Verlagsgesellschaft, 1988), น. 162; การตัดสินใจดำเนินการในเรื่องนี้เป็นไปตามปัจจัยทางการเมือง
ตัวอย่างเช่น หลังจากเกิดเหตุระเบิดสังหารหมู่ชาวยิวที่เมือง Düsseldorf และอาชญากรรมเพราะความเกลียดชัง
(Hate Crime) อื่นๆ ต่อชาวต่างชาติซึ่งพัวพันกับกลุ่มนาซีใหม่ (neo-Nazi group) ในอีกหลายๆ เมืองตลอดช่วงปี
ค.ศ. 2000 รัฐบาลพรรคสังคมประชาธิปไตยนำโดยนายกรัฐมนตรีเกอฮาร์ด ชโรเดอร์ จึงพยายามที่จะหาเสียง
สนับสนุนจากสภาผู้แทนราษฎรในการเสนอคำร้องกรณีพรรค NPD ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เบื้องต้นกลุ่มการเมือง