Page 87 - kpi10440
P. 87

คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
                     รูปแบบและโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกเปลี่ยนแปลง

              ครั้งใหญ่หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยใน
              มาตรา 285 ได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องประกอบด้วย
              2 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายสภาท้องถิ่น และ คณะผู้บริหารท้องถิ่น หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น  โดย
                                                                          1
              สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง ส่วนคณะผู้บริหารหรือผู้บริหารท้องถิ่นนั้น
              สามารถมาจากการเลือกตั้งโดยตรง หรือ ความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นก็ได้    และด้วย
                                                                     2
              ความในบทบัญญัติดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแวดวงการ
              ปกครองท้องถิ่น  โดยสุขาภิบาลได้หายไปจากรูปแบบของการปกครองท้องถิ่น เนื่องจาก
              โครงสร้างของสุขาภิบาลบริหารในรูปคณะกรรมการ ไม่มีการแบ่งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่าย
              สภาท้องถิ่นออกจากกัน จึงได้มีการประกาศยกฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล เมือง
              พัทยาก็เช่นกันด้วยความในบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเปลี่ยนจากรูปแบบสภาท้องถิ่น –
              ผู้จัดการเมือง มาสู่รูปแบบสภาท้องถิ่น – ฝ่ายบริหาร โดยสภาเมืองพัทยา และ นายก
              เมืองพัทยาถูกกำหนดให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน


                     อย่างไรก็ตามแม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยจะมีการจัด
              แบ่งโครงสร้างแบบสภาท้องถิ่น – ผู้บริหารท้องถิ่น แต่ยังคงเป็นแบบผู้บริหารอ่อนแอ
              เนื่องจากสภาท้องถิ่นมีอำนาจในการควบคุมฝ่ายผู้บริหาร เกิดการต่อรองกันทางการเมือง
              เพื่อตำแหน่ง “ผู้บริหาร” เกิดปัญหาเรื่องเสถียรภาพในการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารท้อง
              ถิ่น เกิดการกลั่นแกล้งทางการเมืองในการบริหาร เรียกได้ว่า เป็นช่วงที่ผู้บริหารท้องถิ่น

              เกิดความอ่อนแอและไร้เสถียรภาพอย่างมาก ดังนั้น จึงเกิดการทบทวนหลักการของการ
              จัดแบ่งโครงสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ของประชาชนเป็น
              สำคัญ จึงเปลี่ยนจากแบบที่เรียกว่า “ผู้บริหารอ่อนแอ” มาสู่ยุค “ผู้บริหารเข้มแข็ง”
              พร้อมทั้งมีการกำหนดให้ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน

                  1   มาตรา 285 วรรค 1 บัญญัติว่า “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสภา
                   ท้องถิ่น และ คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น”
                  2   มาตรา 285 วรรค 3 บัญญัติว่า “คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นให้
                   มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือ มาจากความเห็นชอบของ
                   สภาท้องถิ่น”


            0       สถาบันพระปกเกล้า
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92