Page 91 - kpi10440
P. 91
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
โดยทั่วไปฝ่ายบริหารเป็นผู้เสนอร่างข้อบัญญัติสู่การพิจารณาของสภาท้องถิ่น
ที่สำคัญ คือ ร่างข้อบัญญัติงบประมาณ ซึ่งเป็นหัวใจของการบริหารงาน และนอกจากนั้น
ร่างข้อบัญญัติที่ฝ่ายบริหารเสนอมักเป็นข้อบัญญัติที่ออกตามกฎหมายหลัก เช่น
ข้อบัญญัติท้องถิ่นเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติการ
สาธารณสุข พ.ศ. 2535 ข้อบัญญัติท้องถิ่นส่วนใหญ่มักเหมือนกันหมดทุกแห่ง จน
นักวิชาการบางท่าน เรียกข้อบัญญัติเหล่านี้ว่า ”ข้อบัญญัติสามัญประจำบ้าน” ซึ่ง
หมายความว่าทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีข้อบัญญัติเหล่านี้
ข้อเสนอในการดำเนินบทบาทด้านนิติบัญญัติของสมาชิกสภาท้องถิ่น มีดังนี้
(แสดงในแผนภาพที่ 4.3)
1) เนื่องจากไม่ค่อยพบว่าสมาชิกสภาท้องถิ่นยกร่างและนำเสนอร่างข้อ
บัญญัติ จึงเสนอให้สมาชิกสภาท้องถิ่นควรให้ความสำคัญในการยกร่าง
และเสนอร่างข้อบัญญัติที่สำคัญต่อการพัฒนาท้องถิ่นเข้าสู่การพิจารณา
โดยการดำเนินการนั้นสมาชิกสภาท้องถิ่นควรให้ความสำคัญกับหลักการ
มีส่วนร่วมของประชาชน ในการยกร่างข้อบัญญัติด้วย เช่น การจัดรับฟัง
ความคิดเห็นประชาชนในระหว่างการยกร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น นอกจาก
นั้นสภาท้องถิ่นอาจขอคำแนะนำในการยกร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นจาก
นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ และบทที่ 6 ของคู่มือนี้มีข้อมูลความรู้
เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย กระบวนการพิจารณาและการยกร่าง
ข้อบัญญัติท้องถิ่นไว้ด้วย
2) ในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นพิจารณาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นที่เสนอโดย
ฝ่ายบริหาร สภาท้องถิ่นควรพิจารณาและกลั่นกรองร่างข้อบัญญัติ โดย
ยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น สภาท้องถิ่นอาจแต่งตั้งภาค
ประชาชนที่เกี่ยวข้องเข้าเป็นอนุกรรมการพิจารณาด้วย หรืออาจจัดให้มี
การรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน เพื่อให้มั่นใจว่าข้อบัญญัติ
ท้องถิ่นนั้นเป็นเพื่อประโยชน์ส่วนร่วม รวมทั้งเป็นการสร้างการเรียนรู้แก่
ประชาชน มิเช่นนั้นประชาชนจะทราบข้อมูลข่าวสารที่มีผลกระทบต่อ
สถาบันพระปกเกล้า