Page 93 - kpi10440
P. 93

คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
                4.2.2 บทบาทด้านการควบคุมการบริหาร


                   บทบาทลำดับต่อมาของ
              สมาชิกสภาท้องถิ่น คือ บทบาทใน
              ตรวจสอบและถ่วงดุลการบริหารของ
              ฝ่ายบริหาร หัวใจสำคัญของบทบาท
              นี้ คือ ต้องชัดเจนว่าสภาท้องถิ่น
              ไม่ใช่ฝ่ายค้าน เหมือนในการเมือง

              ระดับชาติ ซึ่งหากฝ่ายค้านทำให้ฝ่าย
              บริหารล้มเหลวอาจนำมาสู่การ
              เปลี่ยนขั้ว ฝ่ายค้านอาจมาตั้งรัฐบาลได้ หากแต่ภายใต้ระบบสภาท้องถิ่นและฝ่ายบริหาร
              เข้มแข็ง บทบาทของสภาท้องถิ่นคือ การตรวจสอบถ่วงดุลให้การบริหารงานเป็นไปเพื่อ
              ประโยชน์ส่วนรวม รักษาสัญญาประชาคมที่ฝ่ายบริหารให้ไว้กับประชาชนในการรณรงค์

              หาเสียงและแถลงนโยบาย สมาชิกสภาท้องถิ่นไม่สามารถเปลี่ยนขั้วไปดำรงตำแหน่งของ
              ฝ่ายบริหารได้ หากนายกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลาออก ก็จะนำไปสู่การเลือกตั้ง
              ใหม่ ดังนั้นอย่าเน้นทำบทบาทฝ่ายค้าน หรือ ค้านทุกเรื่อง เรื่องใดที่เหมาะสมและเป็น
              ประโยชน์ควรดำเนินการ สมาชิกสภาควรสนับสนุน

                   สมาชิกสภาท้องถิ่นสามารถดำเนินบทบาทในการตรวจสอบและถ่วงดุลฝ่ายบริหาร

              รวมทั้งให้การสนับสนุนได้ในลักษณะ ดังนี้ คือ

                   1)  การควบคุมการบริหารงาน

                     กฎหมายกำหนดให้สภาท้องถิ่นมีอำนาจในการควบคุมฝ่ายบริหารผ่าน  4
              กลไก ดังแสดงในรูปที่ 4


                     1.1)  การรับทราบคำแถลงนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น

                       กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้กำหนดว่าก่อนที่ผู้บริหาร
              ท้องถิ่นจะเข้ารับตำแหน่ง ประธานสภาต้องเรียกประชุมสภาท้องถิ่นเพื่อให้ผู้บริหาร
              ท้องถิ่นได้แถลงนโยบายต่อสภาท้องถิ่น โดยต้องจัดทำนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อ

                    สถาบันพระปกเกล้า
   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98