Page 84 - kpi10440
P. 84
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
มีอำนาจในการบริหารงานบุคคล และด้วยการเพิ่มอำนาจให้แก่ฝ่าย
บริหารดังกล่าว ทำให้ฝ่ายสภาท้องถิ่นไม่สามารถที่จะแทรกแซง หรือ
ควบคุมฝ่ายบริหารได้ สำหรับประเทศไทย เริ่มประยุกต์ใช้รูปแบบฝ่าย
บริหารเข็มแข็ง ในการบริหารกรุงเทพมหานคร และต่อมามีการปรับปรุง
ให้องค์กรปกครองส่วนทุกประเภทเป็นไปตามรูปแบบนี้
4.1.2 รูปแบบคณะกรรมการ (Commission Form)
รูปแบบคณะกรรมการนี้ ในเชิงโครงสร้างแล้วจะไม่มีการแบ่งแยกอำนาจ
เพราะคณะกรรมการจะใช้ทั้งอำนาจนิติบัญญัติ และ อำนาจบริหารในเวลาเดียวกัน ซึ่ง
หมายความว่าคณะกรรมการจะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร ขณะเดียวกันก็จะทำ
หน้าที่เป็นผู้ออกข้อบัญญัติต่าง ๆ โดยในการปฏิบัติงานจะมีการแบ่งคณะกรรมการออก
เป็นด้าน ๆ และกรรมการแต่ละคนก็จะทำหน้าที่เป็นหัวหน้ากอง หรือ ฝ่ายในงานแต่ละ
ด้าน ข้อดีของการจัดรูปแบบโครงสร้างในรูปแบบนี้ ได้แก่ ความรวดเร็วในการทำงานและ
การตัดสินใจ เนื่องจากสามารถใช้อำนาจบริหาร และ อำนาจในการออกกฎหมายสามารถ
จบได้ในองค์กรเดียว
แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบคณะกรรมการก็ยังมีข้อเสียในหลายประการ อาทิ
คณะกรรมการแต่ละคนมักจะให้ความสำคัญและสนใจในปัญหาและงบประมาณใน
ภารกิจที่ตนรับผิดชอบเท่านั้น ขาดการมองภาพรวมของท้องถิ่น ประกอบกับเมื่อชุมชน
หรือท้องถิ่นมีขนาดใหญ่ขึ้น ประชากรเพิ่มมากขึ้น ปัญหาและข้อเรียกร้องต่าง ๆ ก็
ซับซ้อนและเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นรูปแบบคณะกรรมการจึงไม่สามารถตอบสนองต่อความ
เปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในลักษณะนี้ได้
4.1.3 รูปแบบสภา – ผู้จัดการเมือง (Council – Manager Form)
รูปแบบสภา – ผู้จัดการเมือง ได้รับอิทธิพลของแนวคิดในเชิงการบริหารธุรกิจ
ซึ่งมีการแยกการจัดทำนโยบายออกจากการบริหาร และมีความเชื่อโดยพื้นฐานว่าการที่จะ
ให้เมือง หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนได้
ดีนั้น ต้องอาศัยความเป็นมืออาชีพในการปฏิบัติงาน เรียกว่า “ผู้จัดการเมือง” (City
สถาบันพระปกเกล้า