Page 85 - kpi10440
P. 85

คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
              Manager) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากสภาท้องถิ่น ผ่านการระบบสัญญาจ้าง ผู้จัดการเมืองนี้

              รับผิดชอบการนำนโยบายของนายกเทศมนตรีและฝ่ายสภาท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติและ
              รับผิดชอบในผลงาน   ส่วนการกำหนดนโยบายเป็นความรับผิดชอบของ “สภาท้องถิ่น”

                4.1.4 รูปแบบที่ประชุมเมือง (Town Meeting)

                     รูปแบบที่ประชุมเมือง ถือเป็นรูปแบบที่เก่าแก่ที่สุด และนับเป็นรูปแบบของ

              ระบอบประชาธิปไตยทางตรง (Direct Democracy) เพราะประชาชนในท้องถิ่นทุกคน
              ต้องมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการร่วมลงมติ
              ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาในเวทีการประชุมประจำปีของเมือง
              อย่างไรก็ตามรูปแบบที่ประชุมเมืองนี้เหมาะสมกับพื้นที่ หรือ เมืองที่มีขนาดเล็ก และมี
              จำนวนประชากรไม่มากเท่านั้น

                     อย่างไรก็ตามจากประวัติศาสตร์และพัฒนาการของการปกครองท้องถิ่นไทย

              พบว่าการจัดรูปแบบโครงสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทยนั้น
              ประเทศไทยได้ทดลองใช้ทุกรูปแบบแล้ว ยกเว้นรูปแบบ “ที่ประชุมเมือง” โดยรูปแบบ
              คณะกรรมการ (Commission Form) ถูกนำมาใช้ในการจัดโครงสร้างของสุขาภิบาล โดย
              คณะกรรมการสุขาภิบาล มี 2 สถานะ ได้แก่ เป็นทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และ ฝ่ายบริหารใน
              เวลาเดียวกัน ดังนั้น ในการบริหารงานของสุขาภิบาล จึงไม่มีการเสนอญัตติ ไม่มีการตั้ง
              กระทู้ถาม และไม่มีการเปิดอภิปราย เพราะไม่มีการแบ่งแยกเป็นฝ่ายบริหารและฝ่าย

              นิติบัญญัติ

                     รูปแบบสภา – ผู้จัดการเมือง นั้นถูกนำมาทดลองใช้กับองค์กรปกครองส่วน
              ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอย่างเมืองพัทยา ทั้งนี้เพื่อให้สอดรับกับลักษณะเฉพาะของเมือง
              พัทยา ซึ่งมุ่งเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเน้นการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ และเป็นการ
              ทดลองรูปแบบสภา-ผู้จัดการเมือง โดยเมืองพัทยาแบ่งโครงสร้างการบริหารงานภายใน

              ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) สภาเมืองพัทยา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง
              โดยตรงของประชาชน และมาจากการแต่งตั้ง และ 2) ปลัดเมืองพัทยา ซึ่งมาจากการว่า
              จ้างของสภาเมืองพัทยา มีอายุการจ้างคราวละ 4 ปี หากแต่การบริหารงานเมืองพัทยาใน



                    สถาบันพระปกเกล้า
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90