Page 83 - kpi10440
P. 83
คู่ มื อ ส ม า ชิ ก ส ภ า ท้ อ ง ถิ่ น
การแบ่งงานภาระรับผิดชอบ รวมทั้งก่อให้เกิดการประสานงานกันและสร้างความสัมพันธ์
ที่เหมาะสม สำหรับการจัดรูปแบบโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของแต่ละ
ประเทศนั้นย่อมมีความแตกต่างกัน แต่ทั้งนี้สามารถจัดแบ่งเป็น 4 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่
4.1.1 รูปแบบสภา – ฝ่ายบริหาร (Council – Executive Form)
รูปแบบสภา – ฝ่ายบริหาร เป็นรูปแบบที่ยึดหลักการปกครองแบบรัฐสภา
(Parliamentary System) ซึ่งหมายถึง การแยกโครงสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ออกเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายสภาท้องถิ่น และ ฝ่ายบริหาร โดยมีฝ่ายสภาท้องถิ่นทำหน้าที่
ด้านนิติบัญญัติ คือ การตรวจสอบ ควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร ทำหน้าที่ออก
กฎเกณฑ์ ข้อบังคับต่าง ๆ เช่น ข้อบัญญัติ และมีฝ่ายบริหารทำหน้าที่ในการบริหารงาน
ภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
โครงสร้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระบบสภา – ฝ่ายบริหาร ยังสามารถ
แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบย่อย ได้แก่
1) รูปแบบฝ่ายบริหารอ่อนแอ (Weak Executive) รูปแบบนี้จะไม่มีการ
แยกอำนาจกันอย่างเด็ดขาดระหว่างฝ่ายสภาท้องถิ่น และ ฝ่ายบริหาร
โดยฝ่ายสภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ในขณะที่
ฝ่ายบริหารมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น ในเชิงอำนาจหน้าที่พบ
ว่าฝ่ายสภาท้องถิ่นมีอำนาจครอบคลุมในทุกเรื่อง ทุกประเด็นที่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ในขณะที่ฝ่ายบริหาร
ต้องบริหารงานภายใต้ความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นเกือบทุกเรื่อง
2) รูปแบบฝ่ายบริหารเข้มแข็ง (Strong Executive) เป็นรูปแบบความ
สัมพันธ์ที่มีการแยกอำนาจกันชัดเจนระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายสภา
ท้องถิ่น รูปแบบนี้เป็นการเพิ่มอำนาจในทางการบริหารและอำนาจในการ
ออกข้อบัญญัติให้แก่ฝ่ายบริหาร ทำให้ฝ่ายบริหารสามารถตัดสินใจดำเนิน
งานในการบริหารงานได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ฝ่ายบริหารยังมีอำนาจใน
การยับยั้ง “มติสภา” สามารถกำหนดและปรับปรุงงบประมาณได้
สถาบันพระปกเกล้า