Page 54 - kpiebook67036
P. 54
53
สัมพันธภาพระหว่าง
กษัตริย์ อภิชน และชาวนา
133
ในช่วงปลายศตวรรษที่สิบสาม กษัตริย์สวีเดนหลายพระองค์ในสายราชวงศ์ Folkung
ได้พยายามที่จะรักษาอ�านาจในทางบริหาร นิติบัญญัติและตุลาการให้เข้มแข็งมั่นคงในลักษณะเดียวกัน
กับที่กษัตริย์ ในสายของ Valdemars แห่งเดนมาร์กสามารถท�าได้ส�าเร็จ และพยายามที่จะสถาปนาระบอบ
กษัตริย์ที่สืบสายโลหิต โดยไม่จ�าเป็นต้องขอเสียงสนับสนุนหรือได้รับการเลือกผ่าน ting ในระดับต่างๆ
นั่นคือ การพยายามท�าให้กษัตริย์มีความเป็นอิสระและมีอ�านาจมากขึ้น และลดทอนอ�านาจต่อรอง
ของพวกชนชั้นอภิชนลง แต่ความพยายามดังกล่าวของกษัตริย์สวีเดนในช่วงนี้ไม่ประสบความส�าเร็จ
และในช่วงต้นศตวรรษที่สิบสี่ หลังจากช่วงเวลาแห่งสงครามกลางเมืองที่รุนแรงร้าวลึกระหว่างสายตระกูล
ต่างๆ ในราชวงศ์ ส่งผลให้ พวกอภิชนรวมตัวกันเป็นสภาของพวกตน และสามารถยึดอ�านาจและรักษา
สถานะของการเป็นหลักประกันในการต่อต้านทัดทานการสถาปนาอ�านาจอันสมบูรณ์ของกษัตริย์ไว้ได้ 134
ในแง่มุมหนึ่ง กำรรวมตัวของพวกอภิชนจะสำมำรถถ่วงดุลอ�ำนำจของกษัตริย์ไม่ให้
มีอ�ำนำจมำกและช่วยปกป้องเสรีภำพของพวกอภิชนและชนชั้นล่ำงได้ อย่ำงที่กล่ำวไปข้ำงต้น
แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง หำกพวกอภิชนมีควำมเข้มแข็งจนเกินไปก็อำจจะกดขี่ชนชั้นล่ำงได้อีกเช่นกัน
ดังนั้น ในแง่นี้กษัตริย์ที่เข้มแข็งก็จะสำมำรถทัดทำนอ�ำนำจของพวกอภิชนไม่ไห้ใช้อ�ำนำจจนเกินไป
ดังนั้น กษัตริย์บำงพระองค์ที่มีควำมเข้มแข็งเหนือพวกอภิชนจึงประกำศตนเป็นผู้ปกป้องชนชั้น
ชำวนำจำกกำรเก็บส่วยภำษีที่ไม่เป็นธรรมจำกพวกอภิชน 135
133 ผู้สนใจที่มาของราชวงศ์ Folkung สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก T.K. Derry, A History of Scandinavia:
Norway, Sweden, Denmark, Finland, Iceland (London: George Allen & Unwin, 1979), p. 37.
134 Ingvar Anderson, “Early Democratic Traditions in Scandinavia,” in Scandinavian Democracy: Development
of Democratic Thought and Institutions in Denmark, Norway and Sweden (Copenhagen: Schultz, 1958),
p. 75.
135 ดังในกรณีของ Ladulas ที่มีพระฉายานามว่า “ผู้ปกป้องชาวนาชาวไร่” ดู T.K. Derry, A History of Scandinavia:
Norway, Sweden, Denmark, Finland, Iceland (London: George Allen & Unwin, 1979), p. 37.