Page 57 - kpiebook67036
P. 57
56 ประเพณีการปกครองของสวีเดน: สภาท้องถิ่น (ting), สิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์ และเสรีภาพ
และปกครองตนเองของชาวนา (the Many)
กฎบัตรแห่งเสรีภาพของสวีเดนไม่ต่างจาก Magna Carta ของอังกฤษ ตรงที่มีความชัดเจนว่า
เป็นกฎบัตรของอภิชน มีลักษณะอภิชนาธิปไตย ด้วยผู้ลงนามมาจากตระกูลชั้นน�าของอาณาจักร และ
ผลประโยชน์ที่ได้รับการปกป้องในเบื้องต้นก็ล้วนแต่เป็นของศาสนจักรและอภิชน ส่วนผลประโยชน์ของ
ชุมชุนส่วนรวมจะรองลงมา ผู้ลงนามในเอกสารเข้าใจว่า พวกเขาคือ ผู้ให้หลักประกันของระบบ และการที่
ชาวนาจะต้องมีตัวแทนในการเก็บภาษีพิเศษอาจจะมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ภาษีเหล่านี้จะตกมาเป็นภาระแก่
พวกเขาก่อนอื่นใด กล่าวได้ว่า กฎหมายฉบับนี้มีความเป็น “อภิชนาธิปไตย” (aristocratic) อย่างชัดเจน 145
144
ในตอนกลางศตวรรษที่สิบสี่ ในปี ค.ศ. 1350 ได้มีการประมวลกฎหมายที่อาจมองได้ว่า
เป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับแรกของสวีเดนขึ้นเป็นครั้งแรกที่เรียกในภาษาสวีดิชว่า Landslag
โดยถ้าแปลตรงตัว จะหมายถึง “กฎหมายแห่งแผ่นดิน” (law of the land) เกิดขึ้นในรัชสมัยของกษัตริย์
146
Magnus Erikson เช่นเดียวกัน กฎหมายที่ว่านี้ได้ก�าหนดความสัมพันธ์และพันธกิจระหว่างกันและกัน
ของกษัตริย์ สภาอภิชนและประชาชนและได้มีการน�าเอาสาระส�าคัญของกฎบัตรแห่งเสรีภาพ ค.ศ. 1319
147
มาผนวกรวมเข้าไว้ด้วย ส่งผลให้เกิดรากฐานที่มั่นคงและหลักประกันเสรีภาพตามครรลองการปกครอง
ของสวีเดนในช่วงนี้ นั่นคือ ในทางการ การถ่วงดุลอ�านาจของกษัตริย์มิได้มาจากสภาอภิชนเท่านั้น
แต่รวมถึงประชาชนทั้งมวลด้วยที่เป็นตัวแทนในที่ประชุมที่มีสิทธิ์ในการเลือกกษัตริย์ โดยผู้ที่จะเข้ามา
เป็นองค์ประชุมนี้ ได้แก่ ผู้ที่ได้รับการเคารพยอมรับในชุมชนต่างๆ และเกษตรกรที่มีความรู้มากที่สุด
ผลที่เกิดขึ้นคือ ประชาชนสวีเดนสามารถรักษาเสรีภาพที่ส�าคัญๆ ดังต่อไปนี้คือ
1) เสรีภาพในการท�ามาหากินและเสรีภาพส่วนตัวของประชาชนแต่ละคนจะถูกปกป้องรักษา
ไม่ให้อ�านาจจากส่วนกลางสามารถมาลิดรอนได้ตามอ�าเภอใจ แต่จะต้องอยู่ภายใต้การบังคับใช้กฎหมาย
148
เช่น จะไม่สามารถจับใครไปคุมขังได้หากเขาผู้นั้นยังไม่ได้ถูกตัดสินว่าผิดตามกระบวนการกฎหมาย ยกเว้น
144 Michael F. Metcalf, “Sweden’s Early Parliamentary Institutions from the Thirteenth Century to 1611,”
in The Riksdag: A History of the Swedish Parliament, Michael F. Metcalf (editor) (New York: St. Martin Press,
1987), pp. 14-15.
145 Michael F. Metcalf, “Sweden’s Early Parliamentary Institutions from the Thirteenth Century to 1611,”
The Riksdag: A History of the Swedish Parliament, Michael F. Metcalf (editor) (New York: St. Martin Press,
1987), p. 15.
146 Ingvar Anderson, “Early Democratic Traditions in Scandinavia,” in Scandinavian Democracy: Development
of Democratic Thought and Institutions in Denmark, Norway and Sweden (Copenhagen: Schultz, 1958),
p. 75.
147 Frode Hervick, “The Nordic Countries,” in Benjamin Isakhan and Stephen Stockwell (editors), The Edinburgh
Companion to the History of Democracy: From Pre-history to Future Possibilities (Edinburgh: Edinburgh
University Press, 2012), pp. 146-147.
148 Ingvar Anderson, “Early Democratic Traditions in Scandinavia,” in Scandinavian Democracy: Development
of Democratic Thought and Institutions in Denmark, Norway and Sweden (Copenhagen: Schultz, 1958), p. 75.