Page 56 - kpiebook67036
P. 56

55





                  (กฎหมายผูกมือ) โดยพระเจ้า Eric V ของเดนมาร์กถูกบังคับจากพวกอภิชนให้ลงนามและออกกฎบัตร

                  ดังกล่าวนี้   และต่อมาคือ กฎบัตรแห่งเสรีภาพของสวีเดนในปี ค.ศ. 1319
                                                                                    141
                           140
                          จุดประสงค์ของกฎบัตรแห่งเสรีภาพของสวีเดน ค.ศ. 1319 ที่เกิดขึ้นในช่วงที่กษัตริย์ Magnus
                  Eriksson หรือ Magnus IV คือ การบันทึกและการท�าให้เป็นการถาวรในสัญญาต่างๆ ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยน

                  ระหว่างกษัตริย์กับ “ประชาชน” (อภิชน) ในการยอมรับการสนับสนุนเลือกกษัตริย์ให้ขึ้นครองราชย์
                  โดยทั้งสองฝ่าย นั่นคือ ฝ่ายกษัตริย์และฝ่ายอภิชนที่มาท�าข้อตกลงกันนั้น มีตัวแทนจากฝ่ายสงฆ์คือ

                  บรรดาพระสังฆราช และตัวแทนฝ่ายฆราวาสอีก 20 คนที่เป็นตัวแทนมาจากที่สภาท้องถิ่นจังหวัด
                  (provincial ting) ที่กษัตริย์จะต้องเสด็จเดินทางไปตามประเพณีของอาณาจักร (eriksgata)
                                                                                                142

                          ในเอกสารมีข้อความเริ่มต้นว่า ที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ ศาสนจักรและผู้คน (homines) แห่งอาณาจักร

                  ได้ประจักษ์ถึงการละเมิดสิทธิ์ เสรีภาพ และจารีตประเพณี และความเป็นชุมชนส่วนรวม (commonality:
                  communitas) แห่งอาณาจักรได้ถูกกระท�าอย่างไม่เป็นธรรม และจากนี้ไป จะต้องไม่มีการละเมิดและเกิด

                  ความอยุติธรรมเช่นนี้ขึ้นอีก และผู้ลงนามในกฎบัตรได้ประกาศว่า การตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องภาษีทั้งปวง
                  ที่อยู่นอกขอบเขตที่ก�าหนดไว้ในกฎหมายนี้ จะต้องส่งมาให้พวกอภิชนได้พิจารณาก่อนและต่อจากนั้น

                  จะต้องถูกส่งไปยังชุมชนส่วนรวม (commonality) ในเขตต่างๆ ก่อนที่จะถูกส่งไปให้มีการตัดสินใจร่วมกัน
                  ผู้ลงนามยอมรับที่จะเก็บภาษีจากแต่ละเขตสงฆ์ (bishopric) และเอกสารดังกล่าวได้ประกาศไว้ด้วยว่า

                  เสรีภาพเหล่านี้ได้รับประกันให้แก่ชุมชนส่วนรวม (commonality) แห่งอาณาจักร และท้ายสุด ผู้ลงนาม
                  สัญญาว่าจะสนับสนุน Matts Kettilmundson ขุนนางที่กษัตริย์แต่งตั้งให้เป็นตัวแทน (steward) ในฐานะ

                                                                       143
                  ผู้ส�าเร็จราชการแห่งอาณาจักรจนกว่ากษัตริย์จะบรรลุนิติภาวะ   เนื่องจากในปี ค.ศ. 1319 ในขณะที่เกิด
                  กฎบัตรแห่งเสรีภาพ Magnus Eriksson หรือ Magnus IV กษัตริย์สวีเดนยังไม่บรรลุนิติภาวะ




                  140   แต่ Haandfæstning แตกต่างจาก Magna Carta ตรงที่ Magna Carta ได้ก�าหนดไว้อย่างถาวรว่า กษัตริย์ทุกพระองค์
                  หลังจาก Magna Carta จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดิมของ Magna Carta ที่พระเจ้าจอห์นได้ลงนามไว้ในปี ค.ศ. 1215
                  แต่ Haandfæstning กษัตริย์เดนมาร์กจะต้องลงพระนามใหม่ต่อเนื้อหาสาระใน Haandfæstning ที่จะเกิดขึ้นใหม่ทุกครั้ง

                  ที่กษัตริย์จะขึ้นครองราชย์ ดู Council Of the Realm ใน Medieval Scandinavia: An Encyclopedia, edited by Philip
                  Pulsiano and Kirsten Wolf, (New York: Routldge: 1993), p. 112. และดู T.K. Derry, A History of Scandinavia:
                  Norway, Sweden, Denmark, Finland, Iceland (London: George Allen & Unwin, 1979), p. 59.
                  141   Frode Hervick, “The Nordic Countries,” in The Edinburgh Companion to the History of Democracy: From
                  Pre-history to Future Possibilities, Benjamin Isakhan and Stephen Stockwell (editors) (Edinburgh: Edinburgh
                  University Press, 2012), p. 146.
                  142   Michael F. Metcalf, “Sweden’s Early Parliamentary Institutions from the Thirteenth Century to 1611,”

                  in The Riksdag: A History of the Swedish Parliament, Michael F. Metcalf (editor) (New York: St. Martin Press,
                  1987), pp. 14-15.
                  143   Michael F. Metcalf, “Sweden’s Early Parliamentary Institutions from the Thirteenth Century to 1611,”
                  in The Riksdag: A History of the Swedish Parliament, Michael F. Metcalf (editor) (New York: St. Martin Press,
                  1987), pp. 14-15.
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61