Page 55 - kpiebook67036
P. 55

54      ประเพณีการปกครองของสวีเดน: สภาท้องถิ่น (ting), สิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์ และเสรีภาพ
                    และปกครองตนเองของชาวนา (the Many)




                      อย่างไรก็ตาม จากที่กล่าวไปแล้วว่า เมื่อฝ่ายกษัตริย์อ่อนแอจากการท�าสงครามกันเองภายใน

             ราชวงศ์ และพวกอภิชนสามารถรวมตัวกันและตั้งสภาของพวกตนได้ส่งผลให้ ในปี ค.ศ. 1319 พวกอภิชน
             สามารถต่อรองกับกษัตริย์ให้ท�าการออกเอกสารสิทธิ์ของประชาชน (the rights of the people) ซึ่งค�าว่า

             “ประชาชน” ในที่นี้ มีผู้วิเคราะห์ไว้ว่า จริงๆ แล้ว เอกสารสิทธิ์ดังกล่าวเน้นไปที่สิทธิ์ของพวกอภิชนเองเป็น
             ส�าคัญ   โดยฝ่ายอภิชนได้ต่อรองกับ Magnus Eriksson ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าจะสนับสนุนพระองค์ขึ้นเป็น
                    136
             กษัตริย์ หากพระองค์ยอมรับเงื่อนไขในเอกสารก�าหนดสิทธิ์ดังกล่าว Magnus Eriksson และฝ่ายกษัตริย์
             ยอมรับเงื่อนไขของพวกอภิชนเพื่อจะได้สามารถขึ้นครองราชย์ได้อย่างชอบธรรม จึงยอมพระราชทาน

             กฎบัตรดังกล่าวนี้ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของกฎบัตรแห่งเสรีภาพ (Charters of Liberties) ที่ถือเป็น
             การท�าสัญญาระหว่างกษัตริย์กับประชาชน และอย่างที่กล่าวไปแล้วคือ ค�าว่าประชาชนที่ว่านี้เน้นไปที่

             พวกอภิชนเป็นส�าคัญ   และในกฎบัตรแห่งเสรีภาพ (Charters of Liberties) ค.ศ. 1319 นี้ได้ให้อ�านาจ
                                 137
             แก่สภาอภิชนในการตั้งค�าถามต่อการเก็บภาษีในกรณีพิเศษด้วย  138


                      และหากพิจารณาภายใต้บริบทการเมืองของยุโรปในภาพรวม จะพบว่ากฎบัตรแห่งเสรีภาพ

             ของสวีเดน มีสถานะไม่ต่างจากกฎบัตรในลักษณะเดียวกันนี้ที่เกิดขึ้นมาเพื่อจ�ากัดอ�านาจของกษัตริย์
             โดยมีการก�าหนดอย่างเป็นทางการให้กษัตริย์จะต้องใช้อ�านาจหรือแชร์อ�านาจกับที่ประชุมสภาของ

             พวกอภิชน และการขึ้นเป็นกษัตริย์จะต้องได้รับเลือกจากที่ประชุมจากพื้นที่ต่างๆ อย่างกว้างขวาง
             อันหมายถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน และแน่นอนว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนย่อมมีอิทธิพลของ

             พวกอภิชนอยู่ด้วย และภายใต้บริบทยุโรปยุคกลาง ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า กฎบัตรลักษณะดังกล่าว
                                                  139
             นี้เกิดขึ้นครั้งแรกที่อังกฤษในปี ค.ศ. 1215   นั่นคือ “Magna Carta” ที่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และต่อมา
             ได้เกิดกฎบัตรในลักษณะเดียวกันนี้ขึ้นในเดนมาร์กในปี ค.ศ. 1282 ที่เรียกว่า “Haandfæstning”





             136   Ingvar Anderson, “Early Democratic Traditions in Scandinavia,” in Scandinavian Democracy: Development
             of Democratic Thought and Institutions in Denmark, Norway and Sweden (Copenhagen: Schultz, 1958),

             p. 75.
             137   Michael F. Metcalf, “Introduction,” in The Riksdag: A History of the Swedish Parliament, Michael F. Metcalf

             (editor) (New York: St. Martin Press, 1987), p. 2.
             138   Frode Hervick, “The Nordic Countries,” in Benjamin Isakhan and Stephen Stockwell (editors), The Edinburgh
             Companion to the History of Democracy: From Pre-history to Future Possibilities (Edinburgh: Edinburgh
             University Press, 2012), p. 147.
             139   จริงๆ แล้ว ในอังกฤษเคยมี “Charter of Liberties” (Coronation Charter) ในรัชสมัย Henry I ค.ศ. 1100 แม้จะไม่

             ได้รับความส�าคัญจากกษัตริย์ (เอกบุคคลหรือ “the One”) แต่ก็ถูกอ้างอิงในเวลาต่อมา ดูF. Liebermann, “The Text of
             Henry I.’s Coronation Charter,” Transactions of the Royal Historical Society, New Series, Vol. 8 (1894): 21-
             48; Henry L. Cannon, “The Character and Antecedents of the Charter of Liberties of Henry I,” The American
             Historical Review, Vol. 15, No. 1 (Oct., 1909): 37-46; Alan Harding, “Political Liberty in the Middle Ages,”
             Speculum, Vol. 55, No. 3 (Jul., 1980): 423-443.
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60