Page 14 - kpiebook67036
P. 14
13
ระบบที่สอง regimen politicum คือแนวคิดที่ว่า อ�านาจทางการเมืองอยู่ที่ประชาชน โดยมี
homines meliores (ผู้น�าหรือผู้ที่มีบทบาทส�าคัญในหมู่ประชาชน) เป็นตัวแทน ที่กษัตริย์จะต้องรับผิดชอบ
การกระท�าของพระองค์ต่อตัวแทนดังกล่าวนี้ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ dominium politicum et regale
11
ที่หมายถึง การดุลอ�านาจระหว่างผู้ปกครอง/กษัตริย์และสภาต่างๆ ที่เป็นสภาแห่งตัวแทนประชาชนต่างๆ
(the representative assemblies) หรือถ้าจะกล่าวในบริบทของยุโรปในช่วงต้นสมัยใหม่ก็คือฐานันดรต่างๆ
12
และอยู่ในประเภทอภิชนา/คณาธิปไตยแบบผสม (mixed aristo/oligo-archy) ในทฤษฎีการปกครองแบบผสม
ซึ่งในที่นี้ ค�าว่า อภิชนา และ คณา สามารถใช้สลับกันได้ อันหมายถึงคณะบุคคลที่มีสถานะทางเศรษฐกิจ
สังคมสูง
แม้ว่า regimen regale ที่เป็นแนวคิดที่ว่าสถาบันกษัตริย์ได้รับการสถาปนาขึ้นโดยเชื่อมโยงกับ
พระผู้เป็นเจ้าและผู้ใต้ปกครองภายใต้สถาบันกษัตริย์นี้ไม่มีสิทธิ์ มีแต่หน้าที่ อาจจะท�าให้คิดว่าแนวคิดนี้
สนับสนุนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่จริงๆ แล้ว ทั้งกรอบแนวคิด “regimen regale และ regimen
politicum” และ “dominium regale และ dominium politicum et regale” ต่างปฏิเสธ “กรอบแนวคิด
สมบูรณาญาสิทธิราชย์” ที่หมายถึงการที่กษัตริย์มีอ�านาจอันล้นพ้นและสมบูรณ์เบ็ดเสร็จเด็ดขาด
หากพิจารณาฐานคิดของทั้งสองกรอบแนวคิดนี้ จะพบว่า ทั้งสองกรอบแนวคิดมีฐานคิดอยู่ภายใต้
ทฤษฎีการปกครองแบบผสม (the theory of mixed constitution) ที่ยืนยันความเป็นจริงของส่วนประกอบ
ทางการเมืองทั้งสามส่วนอันได้แก่ เอกบุคคล คณะบุคคลและคนส่วนใหญ่ และชี้ให้เห็นถึงสหสัมพันธ์
ทางอ�านาจทางการเมืองของทั้งสามองค์ประกอบ และเปิดพื้นที่ให้เห็นถึงพลวัตรการต่อสู้แข่งขันและ
การสร้างพันธมิตรทางการเมืองระหว่างองค์ประกอบทั้งสามนี้ และส่วนประกอบแต่ละส่วนนี้จะมีบทบาท
มากน้อยและสัมพันธ์กันในลักษณะใดก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและบริบททางการเมืองในแต่ละช่วง หรือ
ในแต่ละยุคสมัย
11 John P. Maarbjerg, “Regimen Politicum and Regimen Regale: Political Change and Continuity in Denmark
and Sweden (c. 1450-1550),” Scandinavian Studies, 72.2 (Summer 2000), p. 152.
12 ผู้ที่พัฒนากรอบแนวคิด dominium politicum et regale ให้มีความชัดเจนและแพร่หลายและประยุกต์ใช้อธิบาย
การปกครองร่วมสมัยเป็นคนแรก คือ John Fortescue (ค.ศ. 1394-1479) และต่อมา H. G. Koenigsberger ได้น�ามา
พัฒนาและประยุกต์ใช้ในการท�าความเข้าใจและตีความรูปแบบการปกครองประเทศต่างๆ ในยุโรปในช่วงต้นสมัยใหม่
dominium politicum et regale เป็นประเด็นที่ Koenigsberger ได้ศึกษาค้นคว้าและเป็นหัวข้อที่เขาใช้บรรยายในโอกาส
เข้ารับต�าแหน่งศาสตราจารย์สาขาประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยลอนดอนในปี ค.ศ. 1975 และต่อมาได้มีการถอดเป็น
บทความ H. G. Koenigsberger, “Monarchies and Parliaments in Early Modern Europe Dominium Regale or
Dominium Politicum et Regale,” Theory and Society, Vol. 5, No. 2 (Mar., 1978), pp. 191-217. และต่อมาได้ตีพิมพ์
หนังสือชื่อ Monarchies, States Generals and Parliaments: The Netherlands in the Fifteenth and Sixteenth
Centuries (Cambridge: Cambridge University Press: 2001) และ Andrew Spicer ได้วิจารณ์หนังสือเล่มนี้ใน review
of Monarchies, States Generals and Parliaments: The Netherlands in the Fifteenth and Sixteenth Centuries,
(review no. 292) November 2002.