Page 11 - kpiebook67036
P. 11

10      ประเพณีการปกครองของสวีเดน: สภาท้องถิ่น (ting), สิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์ และเสรีภาพ
                    และปกครองตนเองของชาวนา (the Many)




                      หนึ่ง สวีเดนเป็นประเทศเดียวในยุโรปที่ชาวนาไม่เคยตกเป็นทาสติดที่ดิน (serfdom) และ

             เป็นชาวนาเสรีมาโดยตลอด และมีสิทธิ์เสรีภาพในการปกครองตนเองผ่านที่ประชุมท้องถิ่นตามประเพณี
             การปกครองที่เรียกว่า ting และเป็นที่ประชุมในการออกกฎหมายท้องถิ่นและเลือกกษัตริย์ด้วย และ

             สภาฐานันดรของสวีเดนเป็นที่เดียวที่มีตัวแทนของชาวนาเป็นหนึ่งในฐานันดรตั้งแต่ต้น ในขณะที่เดนมาร์ก
             ไม่มีจารีตประเพณีหรือต�านานการมีส่วนร่วมทางการเมืองในแบบ ting ของชาวนาและการมีตัวแทน

             ของฐานันดรต่างๆ ที่กว้างขวางรวมการมีส่วนร่วมของชาวนาอย่างของสวีเดน   ชาวนาในที่ประชุม ting
                                                                                  6
             และในสภาฐานันดรมีบทบาทส�าคัญทั้งการทัดทานและการสนับสนุนอ�านาจของฐานันดรอภิชนหรือ

             กษัตริย์ในเหตุการณ์ทางการเมืองที่ส�าคัญต่างๆ


                      สอง สวีเดนเป็นประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ “สมบูรณาญาสิทธิราชย์” ในปี ค.ศ. 1680
             หลังเดนมาร์กราว 20 ปี และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่มีการใช้ความรุนแรงเสียเลือดเนื้อแต่อย่างใด

             โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงผ่านทางกระบวนการนิติบัญญัติในสภาฐานันดร (Riksdag) และในระบอบ
             สมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสวีเดน ยังคงให้สภาฐานันดรมีอ�านาจนิติบัญญัติอยู่บ้าง


                      สำม การปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสวีเดนมีอายุขัยเพียง 38 ปี

             (ค.ศ. 1680-1718) นับว่าสั้นมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในยุโรปหรือแม้แต่กับประเทศไทยเอง
             หากนับว่าประเทศไทยมีการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. 2435-2475 ในขณะที่

             ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของเดนมาร์กมีอายุถึง 189 ปี (ค.ศ. 1660-1849)


                      สี่ หลังสิ้นสุดสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สวีเดนได้เข้าสู่การปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้
             รัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 1718 นับเป็นประเทศที่สองในยุโรปที่เปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบกษัตริย์

             ภายใต้รัฐธรรมนูญต่อจากสหราชอาณาจักร และเช่นกัน เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ปราศจากการใช้ก�าลัง
             ความรุนแรง แต่เกิดจากปัญหาการขาดพระราชโอรสและพระราชธิดาในการสืบราชสันตติวงศ์และ

             ความเบื่อหน่ายการน�าสวีเดนเข้าสู่สงครามของกษัตริย์ (พระเจ้าชาร์ลส์ที่สิบสอง) ท�าให้อภิชนใน
             สภาฐานันดรและกองทัพถือโอกาสต่อรองกับพระบรมวงศานุวงศ์ที่ปรารถนาจะเป็นผู้สืบราชสมบัติให้สละ

             สมบูรณาญาสิทธิ์และยอมถูกจ�ากัดอ�านาจภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้
             เกิดขึ้นผ่านกระบวนการทางสภาฐานันดร (Riksdag)


                      ห้ำ การปกครองในระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของสวีเดนได้รับการขนานนามว่าเป็น

             “ยุคแห่งเสรีภาพ” และรัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1720 ก็ได้รับการยกย่องจากบรรดานักคิดยุคแสงสว่าง
             ทางปัญญา (the Enlightenment) ของฝรั่งเศสว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ดีที่สุดในขณะนั้น โดยก�าหนดให้อ�านาจ

             สูงสุดอยู่ที่สภาฐานันดร แต่ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญของสวีเดนก็มีอายุได้เพียง 54 ปี ก็มีอันต้อง
             สิ้นสุดลง และเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบอบที่กษัตริย์มีอ�านาจน�าและมีอ�านาจมากขึ้น แต่กระนั้น กษัตริย์ก็ยังอยู่

             ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กษัตริย์ทรงร่างขึ้นเอง นั่นคือ รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1772

             6    Leon Jespersen, “From the Reformation to Absolute Monarchy,” in A Revolution from Above ?: The Power
             State of 16  and 17  Century Scandinavia, (Odense: Odense University Press: 2000), p. 57
                               th
                       th
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16