Page 16 - kpiebook67036
P. 16

15





                  ความส�าคัญและการคงอยู่ของสภาภายใต้การเหวี่ยงตัว

                  ของสองระบบ




                          มีข้อสังเกตที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ แม้การเหวี่ยงตัวกลับของอ�านาจทางการเมืองไปสู่
                  เอกบุคคล (the one) จะมากเพียงใดก็ตาม แต่การเมืองสวีเดนก็ยังรักษา “สภา” ไว้อยู่เสมอ เพียงแต่

                  เอกบุคคลหรือกษัตริย์จะเรียกประชุมมากน้อยหรือพยายามที่จะหลีกเลี่ยงที่จะเรียกประชุม อีกทั้ง
                  กษัตริย์หลายพระองค์ที่พยายามจะขยายอ�านาจหรือพยายามที่จะท�าให้อ�านาจมีเสถียรภาพความมั่นคง

                  ก็มักจะอาศัยการประชุมสภาอยู่ไม่น้อย จึงน�าไปสู่ค�าถามที่ว่า ท�าไม “สภา” ในการเมืองสวีเดนจึงอยู่ยง
                  คงกระพันและถือเป็นสถาบันทางการเมืองที่ส�าคัญมาตลอดประวัติศาสตร์การเมืองของสวีเดนนับตั้งแต่

                  กลางศตวรรษที่สิบสามในรัชสมัยของ Magnus III ?


                          ในการตอบข้อสงสัยดังกล่าวนี้ นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ Helmut Koenigsberger ได้กล่าวถึง
                  เงื่อนไขส�าคัญสามประการที่ท�าให้ “สภา” ในประเทศใดประเทศหนึ่งด�ารงอยู่รอดปลอดภัยได้ โดยเงื่อนไข

                  ทั้งสามประการนี้เป็นเงื่อนไขที่สามารถแยกจากกันและกัน นั่นคือ ไม่จ�าเป็นต้องมีเงื่อนไขครบทั้งสาม
                  ถึงจะท�าให้สภาด�ารงอยู่รอดและคงความส�าคัญ เงื่อนไขสามประการนี้ได้แก่  15


                          หนึ่ง มีจุดเริ่มต้นของ dominium politicum et regale นั่นคือ มีแนวคิดเกี่วกับการดุลอ�านาจระหว่าง

                  ผู้ปกครอง/กษัตริย์และสภาต่างๆ ที่เป็นสภาแห่งตัวแทนของประชาชน (the representative assemblies)

                          สอง มีต�านานหรือจารีตประเพณีเกี่ยวกับสภา

                          สำม มีวิกฤตเกิดขึ้น


                                                                                            16
                          ผู้เขียนขออธิบายที่มาของแนวคิด dominium politicum et regale อีกครั้ง   แนวคิดดังกล่าว
                  นี้เป็นประเด็นที่ Koenigsberger ได้ศึกษาค้นคว้าและเป็นหัวข้อที่เขาได้บรรยายในโอกาสเข้ารับต�าแหน่ง

                  ศาสตราจารย์สาขาประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยลอนดอนในปี 1975
                                                                              17

                          dominium politicum et regale ในความเข้าใจของ Koenigsberger   หมายถึงการดุลอ�านาจ
                                                                                     18

                  15    Leon Jespersen, “From the Reformation to Absolute Monarchy,” in A Revolution from Above ?: The Power
                  State of 16  and 17  Century Scandinavia, (Odense: Odense University Press: 2000), p. 57
                                   th
                           th
                  16    ผู้เขียนจะได้กล่าวถึงในงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสวีเดน (ก�าลังระหว่างการท�าวิจัย)
                  17    H. G. Koenigsberger, “Monarchies and Parliaments in Early Modern Europe Dominium Regale or Dominium
                  Politicum et Regale,” Theory and Society, Vol. 5, No. 2 (Mar., 1978), pp. 191-217. และต่อมาได้ปรากฏ ในหนังสือ

                  ของเขาชื่อ Monarchies, States Generals and Parliaments: The Netherlands in the Fifteenth and Sixteenth
                  Centuries (Cambridge: Cambridge University Press: 2001)
                  18    ผู้เขียนสรุปความมาจากทั้งค�าบรรยาย บทความและหนังสือของ Koenigsberger และบทวิจารณ์ของ Andrew Spicer
                  ใน review of Monarchies, States Generals and Parliaments: The Netherlands in the Fifteenth and Sixteenth
                  Centuries, (review no. 292) November 2002 https://reviews.history.ac.uk/review/292 Date accessed: 15 July,
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21