Page 33 - kpiebook67033
P. 33
สถ�บันพระปกเกล ้ �
King Prajadhipok’s Institute
3.1.4 การเชื่อมั่นในสถาบันต่าง ๆ
การเชื่อมั่นในสถาบันต่าง ๆ เป็นอีกหนึ่งมิติประกอบของคุณภาพสังคม โดยมี
ความสัมพันธ์กับคาดหวังของประชาชน และประสิทธิภาพของหน่วยงาน หรือ สถาบันนั้น ๆ เช่น
การที่ประชาชนนั้นจะเชื่อมั่นในหน่วยงานของรัฐหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ของหน่วยงานนั้น โดยประชาชนจะเชื่อมั่นต่อหน่วยงานของรัฐ หากหน่วยงานของรัฐนั้นมีผลลัพธ์
งานที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ในทางตรงกันข้าม หากหน่วยงานของรัฐนั้นไม่มีผลลัพธ์
งานที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ประชาชนก็มีแนวโน้มที่จะไม่เชื่อมั่นในหน่วยงานของรัฐ
เช่นกัน (สถาบันพระปกเกล้า, 2564)
นอกจากปัจจัยในด้านผลลัพธ์การทำางานของหน่วยงานรัฐที่มีผลต่อความเชื่อมั่น
ทางสถาบันของประชาชน ยังมีปัจจัยด้านสังคมและประชากร เช่น ความก้าวหน้าและการพัฒนา
สังคม พบว่า มีผลกระทบต่อทิศทางความเชื่อมั่นเชิงสถาบันของประชาชน โดยยิ่งมีการพัฒนา
ในสังคมมาก ประชาชนจะยิ่งเชื่อมั่นต่อหน่วยงานของรัฐมากตามไปด้วย ในทางกลับกัน ถ้าประเทศ
มีสภาพเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคงก็ย่อมส่งผลให้ประชาชนเชื่อมั่นต่อหน่วยงานรัฐลดลงด้วยเช่นกัน
(สถาบันพระปกเกล้า, 2564)
3.1.5 การสนับสนุนประชาธิปไตย
การสนับสนุนประชาธิปไตยเป็นสิ่งเดียวที่อาจเกิดขึ้นได้หากมีความชอบธรรม
ทางการเมือง ความชอบธรรมทางการเมืองจะทำาให้ฝ่ายที่มีอำานาจปกครองมีสิทธิทางศีลธรรม
ในการปกครอง รวมถึงระบบต่าง ๆ ทางการเมืองทั้งหมดต้องมีความชอบธรรม โดยความชอบธรรม
ทางการเมืองนั้นมีความสำาคัญอย่างมากสำาหรับระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากประชาธิปไตย
ต้องมีรากฐานมาจากหลักนิติธรรมและการยอมรับคำาสั่งจากประชาชน หากไม่มีความเชื่อมั่น
ในรัฐบาลที่กำาลังปฏิบัติหน้าที่แล้ว ย่อมจะเกิดความขัดแย้งและความรุนแรงอย่างแน่นอน (Diamond,
1999: 69)
สำาหรับในการศึกษานี้ การสนับสนุนต่อประชาธิปไตย หมายถึง ระดับของประชามติ
ที่ยึดถือว่าประชาธิปไตยเป็นระบบที่เหมาะสมที่สุดในการปกครองประชาชนโดยองค์รวม (ถวิลวดี
บุรีกล และ รัชวดี แสงมหะหมัด, 2557; สถาบันพระปกเกล้า, 2564) หรือการไม่ยอมรับการปกครอง
ในรูปแบบอื่น ได้แก่ การปกครองโดยผู้นำาที่เข้มแข็ง โดยยกเลิกระบบรัฐสภาและการเลือกตั้ง
การมีพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวในการเลือกตั้งและบริหารประเทศ การมีทหารปกครอง
ประเทศ และการปกครองโดยผู้เชี่ยวชาญ และยกเลิกระบบการเลือกตั้งและระบบรัฐสภา
3.1.6 การต่อต้านทุจริต
คำาว่า “ทุจริต (corruption)” หมายถึง การละเมิดผลประโยชน์ส่วนรวมเพื่อผลประโยชน์
ส่วนบุคคล (Rogow และ Lasswell, 1977) การใช้อำานาจที่ได้มาในทางที่ผิดเพื่อผลประโยชน์
ส่วนตน (Transparency International, 2000) หรือการใช้อำานาจของรัฐไปในทางที่แสวงหา
31