Page 32 - kpiebook67033
P. 32

รายงานผลการประเมินสถานการณ์
          ความเป็ นประชาธิปไตยของประเทศไทย
             3.1.2 การยึดมั่นในหลักนิติธรรม
                 การยึดมั่นในหลักนิติธรรม ถือว่าเป็นอีกมิติสำาคัญหนึ่งของการปกครองในระบอบ
          ประชาธิปไตยโดยหลักนิติธรรม หมายถึง หลักพื้นฐานของกฎหมายที่ใช้เพื่อกำากับและตรวจสอบ
          กฎหมายการดำาเนินการจะละเมิดต่อข้อกำาหนดของกฎหมายไม่ได้ อีกทั้งยังเป็นมาตรฐานของสังคม
          ที่ใช้ในกระบวนการทำางานของภาครัฐ (Dickson, 2014; สถาบันพระปกเกล้า, 2564) อย่างไรก็ตาม
          เมื่อพิจารณาในภาพกว้าง นิติธรรมมีความเกี่ยวข้องกับการมีกฎหมายที่ดี มีความชัดเจน และ
          มีกระบวนการยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส เป็นต้น (สถาบันพระปกเกล้า, 2561; 2564) สำาหรับ
          องค์ประกอบของหลักนิติธรรม ประกอบด้วย หลักการแบ่งแยกอำานาจ หลักการคุ้มครองสิทธิและ
          เสรีภาพของบุคคล หลักความชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครอง หลักความชอบ
          ด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา หลักความอิสระของผู้พิพากษา หลัก “ไม่มีความผิด และไม่มีโทษ
          โดยไม่มีกฎหมาย” และหลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ (สถาบันพระปกเกล้า,
          2546; 2564)

                 ทั้งนี้ หลักนิติธรรมสามารถแสดงออกได้โดยนัยสำาคัญได้ 3 ประการ ตามทัศนะของ
          เอ.วี.ไดซีย์ (A.V. Decey) คือ 1. การที่ฝ่ายบริหารนั้นไม่สามารถลงโทษบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้
          โดยปราศจากกฎหมายที่นำามาชี้แจง นอกจากนี้ กระบวนการลงโทษนั้นจะต้องเป็นไปตามกระบวนการ
          ทางกฎหมายต่อหน้าศาลเป็นปกติ จะการทำาโดยพลการมิได้ 2. บุคคลทุกคนนั้นจะต้องอยู่ภายใต้
          กฎหมาย ไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในตำาแหน่งใดก็ตามทางสังคม 3. หลักการทั่วไปทางกฎหมายหรือ
          สิทธิขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวเนื่องกับการดำาเนินชีวิตประจำาวันของประชาชนนั้นเป็นผลมาจากคำาวินิจฉัย
                                        ้
          ของศาล มิใช่เกิดจากกระบวนการรับรองคำาประกันพิเศษของรัฐธรรมนูญ (จรัญ โฆษณานันท์,
          2550 อ้างใน สถาบันพระปกเกล้า, 2561; 2563)

             3.1.3 การมีทุนทางสังคม
                 การมีทุนทางสังคม หมายถึง การยอมรับเป็นสมาชิกของสังคม (Social inclusion)
          ซึ่งเป็นหนึ่งในมิติของคุณภาพสังคม (Social quality) โดยการยอมรับการเป็นสมาชิกของสังคมนั้น
          หมายรวมถึงการร่วมเป็นสมาชิกขององค์กร กลุ่มต่าง ๆ ในสังคม ในชุมชน ความสามารถในการเข้าถึง
          บริการสังคม ทรัพยากรต่าง ๆ โดยมีความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน (Beck และคณะ,
          1998 อ้างใน สถาบันพระปกเกล้า, 2553; 2563) รวมถึง การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ความสัมพันธ์
          ระหว่างบุคคล 2 คนขึ้นไป และเครือข่ายทางสังคมของปัจเจกชน (Adler and Kwon, 2002;
          Flap and De Graaf, 1986; Coleman, 1988; สถาบันพระปกเกล้า, 2563) นอกจากนี้ยัง
          หมายรวมถึง การเชื่อมั่นกันและกัน ได้แก่ เชื่อมั่นในบุคคลใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็น ญาติ เพื่อนบ้าน
          และบุคคลอื่นที่ติดต่อด้วย ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมอีกทางหนึ่งด้วย (สถาบัน
          พระปกเกล้า, 2564)





           30
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37