Page 34 - kpiebook67033
P. 34
รายงานผลการประเมินสถานการณ์
ความเป็ นประชาธิปไตยของประเทศไทย
ประโยชน์ให้ตนและพวกพ้อง (สถาบันพระปกเกล้า, 2557; 2563) เป็นต้น Del Dickson (2014)
ได้กล่าวว่า การทุจริตหากเกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตยจะสร้างผลกระทบทางลบน้อยกว่า
การทุจริตที่เกิดขึ้นในระบบที่ควบคุมอำานาจแบบเบ็ดเสร็จ เพราะการมีระบบตรวจสอบและ
การถ่วงดุลอำานาจของรัฐ การมีเสรีภาพของสังคมในการที่จะพูด แสดงความเห็น ซึ่งเป็นการกระตุ้น
ให้รัฐดำาเนินการด้วยความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น
การทุจริตในสังคมมีหลายประเภทซึ่งบางครั้งประชาชนอาจมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย
หรือเป็นเรื่องปกติในสังคม แต่การสร้างลักษณะนิสัยเช่นนี้อาจส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศก็ได้
เช่น การจ่ายเงินแป๊ะเจี๊ยะ การโกงข้อสอบ การใช้ระบบอุปถัมภ์ในการเข้าทำางาน การรับสินบนหรือ
จ่ายสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ นอกจากนี้ การละเว้นการเอาผิดผู้ที่ทุจริต หรือแม้แต่การไม่ต่อต้าน
การไม่ทำาอะไรเลยก็เท่ากับว่าเรามีส่วนยอมรับการทุจริตไปในตัวด้วย
3.1.7 การมีส่วนร่วมของประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชนทางการเมือง ถือเป็นองค์ประกอบสำาคัญอีกประการหนึ่ง
ของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และเป็นหลักสำาคัญของหลักธรรมาภิบาล ทั้งนี้ การมีส่วนร่วม
ทางการเมืองของประชาชนนั้นถูกบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
เช่น การเข้าชื่อเสนอกฎหมายตามมาตรา 133 (3) การบัญญัติให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ในกระบวนการตรากฎหมายด้วยการร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอข้อเสนอแนะต่อประเด็น
การรับฟังความคิดเห็นหลักการของร่างพระราชบัญญัติหรือต่อตัวร่างพระราชบัญญัติก่อนเข้าสู่
กระบวนการตราพระราชบัญญัติ ตามมาตรา 77 เป็นต้น (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2560)
อย่างไรก็ดี สิ่งสำาคัญของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ การสร้างตระหนักรู้
และตระหนักในสิทธิของตน นอกจากนี้ การให้ความรู้เข้าใจต่อประชาชนจะเป็นการสร้างความมั่นใจ
ให้แก่ประชาชนที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจทางการเมือง การมีส่วนร่วมกระบวนการ
บริหารและตัดสินใจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยอยู่บนฐานของความเป็นอิสระทางความคิด
มีความรู้ความสามารถที่จะกระทำา และมีความเต็มใจที่จะกระทำาด้วย (อรทัย ก๊กผล, 2552;
สถาบันพระปกเกล้า, 2563) นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนจำาเป็นต้องมีส่วนร่วมใน
ทุกกระบวนการ ตั้งแต่ ร่วมคิดค้นหาปัญหา ออกแบบการแก้ปัญหา ร่วมติดตาม และประเมินผล
อย่างต่อเนื่อง และที่สำาคัญ การพัฒนาช่องทางสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีต่าง ๆ สื่ออิเล็กทรอนิกส์
จะยิ่งทำาให้เพิ่มโอกาสในการมีส่วนร่วมของประชาชนมากยิ่งขึ้น (Hollie Russon Gilman, 2016;
สถาบันพระปกเกล้า, 2563) ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมนั้นจะต้องครอบคลุมประชาชนในทุกพื้นที่ ทุกระดับ
ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งต้องครอบคลุมถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนด้วย เพื่อให้เกิดการ
มีส่วนร่วมของทุกคน และเพื่อสะท้อนความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มอย่างแท้จริง (Galstyan,
2019; สถาบันพระปกเกล้า, 2563)
32