Page 35 - kpiebook67033
P. 35

สถ�บันพระปกเกล ้ �
                                                             King Prajadhipok’s Institute
                  รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมือง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. การมีส่วนร่วมแบบที่
           ทำากันทั่วไป (conventional political participation) เป็นการมีส่วนร่วมที่ค่อนข้างเป็นทางการ
           และเป็นรูปแบบเดิม ๆ ผู้มีอำานาจยังคงปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลและยังมีการใช้อำานาจในทางที่ผิด
           และไม่ได้ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึง และ 2. การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ไม่ได้ทำากันทั่วไป
           (unconventional political participation) เป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมที่ไม่เป็นทางการ ไม่เป็นไป
           ตามกฎระเบียบหรือกติกาของสังคม ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่ขัดต่อกฎหมาย เช่น การเข้าร่วมชุมนุม
           ประท้วง การใช้ความรุนแรง เป็นต้น (ถวิลวดี บุรีกุล และ รัชวดี แสงมหะหมัด, 2557; สถาบัน
           พระปกเกล้า, 2563)

                   การมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นกิจกรรมที่ยึดหลักความสมัครใจ มักจะส่งอิทธิพลต่อ
           ผู้กำาหนดนโยบาย หากแต่บางครั้งอาจจะสำาเร็จหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมทางการเมือง
           เพื่อเป็นการกดดันให้รัฐบาลตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยกระบวนการ
           มีส่วนร่วมนี้จะเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่เป็นไปตามกฎหมายก็ได้ เช่น การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง
           การบริจาคเงิน การเข้าร่วมพรรคการเมือง การติดต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ การประท้วง การเป็น
           อาสาสมัคร การลงนามที่เกี่ยวข้อง การซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับทางการเมือง หรือแม้กระทั่งการประท้วง
           ด้วยการฆ่าตัวตาย (Uhlaner, 2001; จุฬีวรรณ เติมผล, 2561; Deth, 2016; สถาบันพระปกเกล้า,
           2563)

                  นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมทางการเมืองยังมีการกล่าวถึงทัศนคติต่อการมีส่วนร่วม
           ทางการเมืองด้วยซึ่งเป็นรากฐานสำาคัญที่จะผลักดันให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง
           ได้มากขึ้น โดยทัศนคติดังกล่าวจะเป็นการจัดการความชื่นชอบหรือไม่ชอบต่อสิ่งต่าง ๆ เป็นการ
           ประเมินภายใต้ความรู้สึกนึกคิด ประสบการณ์ของตนเองและบริบทของสังคม (สถาบัน
           พระปกเกล้า, 2563) ซึ่งทิศทางการประเมินมี 2 ทิศทาง คือ ทางบวก และ ทางลบ และความรุนแรง
           ของการรู้สึกก็แตกต่างกันไปด้วย (Haddock & Maio, 2008)

                   ทั้งนี้ มีการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนว่าส่งผลมาจากทัศนคติ
           และการให้คุณค่าของแต่ละบุคคล ไม่ว่าจะเป็นทัศนคติในทางบวกหรือทางลบ รวมถึงการสร้าง
           ความเชื่อมั่นก็ส่งผลด้วย (Saad &Salman, 2013; Magni, 2015) อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาพบว่า
           หากประชาชนรู้สึกโกรธหรือไม่พอใจกับสถานการณ์ของบ้านเมือง จะส่งผลให้พวกเขาให้ความสนใจ
           เรื่องการเมืองน้อยลง แต่ก็มีส่วนที่ทำาให้พวกเขาออกมาต่อต้านกลุ่มพรรคการเมืองนั้น ๆ และ
           ไม่ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งได้เช่นกัน (Kiss & Hobolt, 2012)

                   ในขณะที่ความเชื่อมั่นต่อสถาบันต่าง ๆ รวมถึงความเชื่อมั่นต่อนักการเมือง และรัฐบาล
           มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมทางการเมือง (Hooghe & Marien, 2012; Saad & Salman, 2013)
           ซึ่งมีทั้งการแสดงออกในทางออนไลน์ แสดงความเห็นเกี่ยวกับการเมือง และการลงคะแนนเสียง



                                                                           33
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40