Page 30 - kpiebook67033
P. 30

รายงานผลการประเมินสถานการณ์
          ความเป็ นประชาธิปไตยของประเทศไทย


               บทที่ 3 ตัวชี้วัดประช�ธิปไตยในบริบทของสังคมไทย


             ในบทนี้ กล่าวถึงตัวชี้วัดประชาธิปไตยในแต่ละมิติ ดังนี้


          3.1 ตัวชี้วัดประช�ธิปไตย
             จากการสำารวจองค์ประกอบของประชาธิปไตย รวมถึงได้พัฒนาเครื่องมือตัวชี้วัดประชาธิปไตย
          ในช่วงของการศึกษาเมื่อปี 2561 ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ประมวลและคัดเลือกองค์ประกอบซึ่งพบว่ามีการ
          นำาไปใช้สำารวจค่านิยมประชาธิปไตยในหลาย ๆ ที่ โดยเพื่อให้ครอบคลุมถึงหลักการดำาเนินการ
          ที่เป็นระบบ โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 1) หลักการบริหารและธรรมาภิบาล ประกอบด้วย
          การเคารพสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ และ การยึดมั่นในหลักนิติธรรม 2) กระบวนการประชาธิปไตย
          ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมของประชาชน และ การมีทุนทางสังคม และ 3) ผลของประชาธิปไตย
          ประกอบด้วย การเชื่อมั่นในสถาบันต่าง ๆ การสนับสนุนประชาธิปไตย และการต่อต้านการทุจริต
          ดังภาพต่อไปนี้






















                    ภาพ 3.1 แสดงองค์ประกอบตัวชี้วัดประชาธิปไตยในบริบทสังคมไทย
          โดยในแต่ละมิติมีรายละเอียดดังนี้


             3.1.1 การเคารพสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่
                 หลักของการเคารพสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ ถือเป็นหลักพื้นฐานหนึ่งของความเป็น
          ประชาธิปไตย โดยสิทธิ (right) คือ ประโยชน์หรืออำานาจของบุคคลที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองมิให้
          มีการละเมิด รวมถึงการบังคับให้เป็นไปตามสิทธิในกรณีที่ละเมิด (Del Dickson, 2014) ทั้งนี้ มีการระบุ
          ในรัฐธรรมนูญด้วยเจตนารมณ์สำาคัญในการคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคล
          สำาหรับแนวคิดที่เกี่ยวกับการรับรองสิทธิและเสรีภาพนั้น อาจจะกล่าวได้ว่ามีจุดแรกเริ่มมาจาก

           28
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35