Page 26 - kpiebook67033
P. 26
รายงานผลการประเมินสถานการณ์
ความเป็ นประชาธิปไตยของประเทศไทย
เสรีภาพในการเข้าถึง อุปสรรค การจำากัด การละเมิดสิทธิ
ปี สถานะ
อินเทอร์เน็ต ในการเข้าถึง เนื้อหา ของผู้ใช้
2564 36 16 13 7 ไม่มีเสรีภาพ
2565 39 16 14 9 ไม่มีเสรีภาพ
https://freedomhouse.org/country/thailand/freedom-net/2022
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าสถานการณ์ความเป็นประชาธิปไตยในมุมมองจากหน่วยงาน
ต่างประเทศมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ขึ้นอยู่กับทั้งบริบทของสังคมและทางการเมือง และช่วงปี
ที่ทำาการศึกษา อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดความเป็นประชาธิปไตยในการศึกษานี้ได้จัดทำาขึ้นเพื่อให้
สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ซึ่งถือว่าอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง ด้วยเหตุนี้
สำานักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้าจึงได้ทำาการศึกษาสถานการณ์ความเป็นประชาธิปไตย
ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2560 เพื่อศึกษาความเหมาะสมของตัวชี้วัดและเพื่อศึกษา
แนวโน้มของระดับความเป็นประชาธิปไตยเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาความเป็นประชาธิปไตย
ของไทยให้ดียิ่งขึ้น
1.2 วัตถุประสงค์ของก�รศึกษ�
การประเมินสถานการณ์ความเป็นประชาธิปไตยของประเทศไทย : จับชีพจรประชาธิปไตยไทย
พ.ศ. 2565 มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1) เพื่อจัดทำาดัชนีชี้วัดประชาธิปไตยที่เหมาะสมกับบริบททางสังคมและการเมือง
การปกครองไทย
2) เพื่อสำารวจสถานการณ์ความเป็นประชาธิปไตยของประเทศไทย
3) เพื่อศึกษาแนวโน้มระดับความเป็นประชาธิปไตยในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2560 -
2565
1.3 ระยะเวล�ก�รปฏิบัติง�นเก็บรวบรวมขอมูล
้
ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 24 เมษายน - 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 2 – 20 เมษายน พ.ศ. 2561
ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 1 - 30 เมษายน พ.ศ. 2562
ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 1 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 1 – 19 เมษายน พ.ศ. 2564
ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 1 – 15 เมษายน พ.ศ. 2565
24