Page 24 - kpiebook67033
P. 24

รายงานผลการประเมินสถานการณ์
          ความเป็ นประชาธิปไตยของประเทศไทย
















               ภาพ 1.3 แสดงผลการประเมินดัชนีประชาธิปไตย ประเทศไทย ปี 2555 – 2565

         ที่มา: พัฒนาจาก The Economist Intelligence Unit, 2022

             เมื่อพิจารณามิติที่ได้รับการประเมิน พบว่า มิติที่ทำาให้ผลการประเมินผันผวนคือ มิติ
         กระบวนการเลือกตั้งและพหุนิยม เนื่องจากในปี 2562 ประเทศไทยได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิก
         สภาผู้แทนราษฎรขึ้น ในวันที่ 24 มีนาคม 2562 ทำาให้คะแนนในมิตินี้เพิ่มขึ้นจาก 3 คะแนน
         ในปี 2561 เป็น 7.4 ในปี 2562 ละเอียดดังภาพต่อไปนี้




















           ภาพ 1.4 แสดงผลการสำารวจของ EIU ของประเทศไทย เปรียบเทียบปี พ.ศ. 2559 – 2565

             นอกจากนี้ ยังมีองค์กรฟรีดอมเฮาส์ (The Freedom House) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน
         เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพ ได้ประเมินสถานการณ์เสรีภาพของประเทศทั่วโลก สำาหรับ
         การให้คะแนนเสรีภาพนั้น มีเกณฑ์ตัดสินจากสิทธิทางการเมือง (Political rights) มีคะแนนเต็ม
         40 คะแนน และเสรีภาพของพลเมือง (Civil liberties) มีคะแนนเต็ม 60 คะแนน รวมทั้งสิ้น
         เป็น 100 คะแนน และมีการกำาหนดสถานะของการมีเสรีภาพไว้ 3 กลุ่ม ได้แก่ มีเสรีภาพ (Free)
         มีเสรีภาพบางส่วน (Partly Free) และ ไม่มีเสรีภาพ (Not free) (Freedom House, 2022)




           22
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29